Halloween : ความเป็นมาของ ‘ฮาโลวีนญี่ปุ่น’ แล้วคนญี่ปุ่นฉลองคืนปล่อยผียังไงบ้าง
สารบัญ
Happy Halloween in Japan 🧙♀️
เข้าสู่เดือนตุลาคม เชื่อว่าหลายคนคงจะนึกถึงวันฮาโลวีน (Halloween Day) ประเพณีปล่อยผีตามความเชื่อของชาวตะวันตกซึ่งจัดประจำทุกปีในวันที่ 31 ตุลาคม จากนั้นก็ค่อยๆ แพร่หลายในวงกว้างเพิ่มขึ้นรวมทั้งในประเทศญี่ปุ่น ครั้งจึงนำข้อมูลของ “ฮาโลวีนญี่ปุ่น” มาฝากผู้อ่านทุกคน ทั้งเรื่องความเป็นมา ความแตกต่าง และคนญี่ปุ่นทำอะไรกันบ้างในวันฮาโลวีน
ที่มาของเทศกาลฮาโลวีน
ในอดีตวันที่ 31 ตุลาคมถือเป็นวันสิ้นปีของชาวเคลต์ (Celt) ซึ่งอาศัยอยู่บริเวณหมู่เกาะอังกฤษ ไอร์แลนด์ และฝรั่งเศส นับเป็นจุดสิ้นสุดของฤดูใบไม้ร่วงและเป็นวันเริ่มต้นฤดูหนาว มีความเชื่อว่าวิญญาณของผู้ที่เสียไปจะกลับมาเยี่ยมครอบครัวในวันนี้
ขณะเดียวกันในช่วงเวลานี้ก็จะมีแม่มดและวิญญาณชั่วร้ายออกมาเพ่นพ่านด้วย จึงเกิดธรรมเนียมการไล่ผีและสิ่งชั่วร้ายโดยการสวมหน้ากากและก่อกองไฟ ซึ่งธรรมเนียมนี้เองก็ได้ปฏิบัติต่อเนื่องกันมาจนถึงปัจจุบัน
นอกจากนี้ในคืนวันที่ 31 ตุลาคม ยังมีธรรมเนียมที่เด็กๆ จะแต่งตัวเป็นแม่มดหรือภูตผีออกไปตระเวนเคาะประตูบ้านถาม “Trick or Treat” (จะโดนหลอกหรือจะเลี้ยง) ถ้าตอบว่า Treat เด็กๆ ก็จะได้รับขนมนั่นเอง โดยแต่ละบ้านก็จะทำขนมฟักทองและนำขนมที่เด็กได้รับมารวมกันแล้วจัดเป็นปาร์ตี้ฮาโลวีน
จะเคาะประตูบ้านไหนให้สังเกตจากไฟตกแต่งหน้าบ้าน ที่คนจะนิยมทำแจ็ค โอ แลนเทิร์น (Jack-o’-lantern) หรือตะเกียงฟักทอง โดยการนำฟักทองมาคว้านด้านในออกแล้วใส่เทียนลงไปแทน เห็นตะเกียงเมื่อไรแสดงว่าเด็กๆ สามารถไปเคาะประตูได้ แต่ถ้าจัดตกแต่งแล้วกลับไม่ให้ขนมเด็ก เห็นว่าบ้านนั้นก็จะโดนเด็กๆ แกล้งหลอกไปพอสมควรเลย
การแต่งตัวแฟนซีวันฮาโลวีนแบบฉบับอเมริกา
ช่วงศตวรรษที่ 19 ชาวไอริชเริ่มอพยพเข้ามาในสหรัฐอเมริกา ทำให้เทศกาลฮาโลวีนกลายเป็นกระแสและเป็นที่รู้จักมากขึ้น ไม่ใช่แค่เฉพาะในยุโรป ในคืนวันฮาโลวีนชาวอเมริกันมักแต่งแฟนซีให้ดู “น่ากลัว” เช่น แต่งตัวเป็นผีวิญญาณ, ค้างคาว, แม่มด, แมวดำ, ซอมบี้
นอกจากนี้มียังมีการแต่งตัวเป็นคาแรคเตอร์ที่ปรากฎตัวในนิยายสยองขวัญของฝั่งตะวันตก เช่น แวมไพร์, มนุษย์หมาป่า และแฟรงเกนสไตน์ จนกระทั่งประมาณช่วงปี ค.ศ. 2000 ก็เริ่มมีการแต่งตัวตามคาแรคเตอร์หนังหรือการ์ตูนดัง เช่น เจ้าหญิง, โจรสลัด, สไปเดอร์แมน, แบทแมน เป็นต้น
ฮาโลวีนแบบฉบับญี่ปุ่น
เดิมเทศกาลฮาโลวีนในประเทศญี่ปุ่นเริ่มขึ้นในพื้นที่ที่ชาวอเมริกาอาศัยอยู่ แต่ต่อมาในช่วงปี 1980 เริ่มมีการจัดอีเว้นท์แต่งชุดแฟนซีในสถานที่ต่างๆ กันอย่างแพร่หลายมากขึ้น
ครึ่งหลังของช่วงปี 1990 หลายแห่งก็เริ่มมีการจัดงาน ฮาโลวีนญี่ปุ่น ขึ้น เช่น โตเกียวดิสนีย์แลนด์เป็นสถานที่แรกที่มีการจัดอีเว้นท์ “ดิสนีย์ฮาโลวีน”
หลังจากนั้น ตั้งแต่ช่วงครึ่งหลังของช่วงปี 2000 บริษัทผู้ผลิตขนมต่างๆ ก็ได้แข่งขันผลิตขนมต้อนรับเทศกาลฮาโลวีนกันออกมา พอเข้าช่วงปี 2010 กลางๆ เครือข่ายโซเชียลเน็ตเวิร์กที่เริ่มแพร่หลายทำให้ขนาดของตลาดขยายใหญ่ขึ้นตามไปด้วย และในช่วงนี้เองที่ตามห้างร้านมุมเมืองต่างๆ เริ่มมีการประดับตกแต่งบรรยากาศเทศกาลฮาโลวีน รวมถึงมีการแต่งกายแฟนซีซึ่งถูกปรับเป็นสไตล์ญี่ปุ่นมากขึ้น โดยคอสเพลย์คาแรคเตอร์ตามมังงะหรืออนิเมะต่างๆ
รวมถึงมีการแต่งกายแฟนซีซึ่งถูกปรับเป็นสไตล์ญี่ปุ่นมากขึ้น โดยคอสเพลย์คาแรคเตอร์ตามมังงะหรืออนิเมะต่างๆ เช่นเดียวกันกับเทศกาลคริสต์มาส เทศกาลฮาโลวีนญี่ปุ่นจะเน้นที่ความสนุกสนานและไม่มีความเกี่ยวข้องกับทางศาสนาเท่าใดนัก
แต่งกายแฟนซีแบบคนญี่ปุ่น ภาพ: www.livejapan.com/ja/
สีสันพาเหรดเทศกาลฮาโลวีนญี่ปุ่น
พาเหรดฮาโลวีนถือเป็นหนึ่งในอีเว้นท์ที่ครึกครื้นมาก จัดขึ้นในหลายพื้นที่ของญี่ปุ่น แต่ปี ค.ศ. 2020 ที่ผ่านมา เนื่องจากเกิดสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 ระบาด จึงทำให้งานอีเว้นท์ถูกยกเลิกหรือบางแห่งก็ถูกลดขนาด มีคนแต่งชุดแฟนซีน้อยลง แต่คนที่เดินทางมาชมขบวนก็ถือว่าไม่น้อยเลยทีเดียว บางแห่งก็มีป้ายรณรงค์ “ฮาโลวีนปีนี้งดออกนอกบ้าน รักษาตัวให้ปลอดภัยกันนะ”
ขอยกตัวอย่างพาเหรดที่น่าสนใจ เช่น
・ขบวนพาเหรดแต่งแฟนซีฮาโลวีนขนาดใหญ่บริเวณหน้าสถานีรถไฟ JR Kawasaki Station ในสถานการณ์ปกติ ว่ากันว่ามีจำนวนผู้เข้าร่วมแต่งแฟนซีราวสามพันกว่าคน และผู้เข้าชมราวแสนกว่าคน
ภาพ: www.livejapan.com/en/in-tokyo/in-pref-kanagawa/
・พาเหรดแต่งแฟนซีวันฮาโลวีนเดินขบวนเข้าสวนสนุกดิสนีย์แลนด์
ภาพ: www.matcha-jp.com/en/7926
・Halloween Horror จัดโดยสวนสนุก Universal Studio Japan (USJ)
สูตรอาหารฉลองวันฮาโลวีน
มีหลายเมนูที่นิยมทำกันในวันฮาโลวีน เราขอบอกต่อหนึ่งเมนูที่ทำง่ายแถมรสชาติถูกปากคนทุกวัย “สตูว์หอมรสเข้มข้นในผลฟักทอง” แนะนำให้ใช้ฟักทองขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 18-20 ซม. สีสวย ผิวไม่มีรอย และมีน้ำหนักหน่อย จากนั้นทำตามขั้นตอนต่อไปนี้
1) นำฟักทองมาห่อแร็พพลาสติกหลวมๆ แล้วนำไปเข้าไมโครเวฟประมาณ 8 นาที ด้วยความร้อน 600w ถ้าฟักทองยังแข็งอยู่ให้เวฟต่ออีกหน่อยครั้งละ 30 วินาที
2) หั่นบริเวณด้านบนที่จะทำเป็นฝาออก คว้านเมล็ดและเนื้อด้านในออกให้สวยงาม
3) เพิ่มความน่ารักด้วยโดยการใช้มีด แกะสลักผิวเปลือกออกเล็กน้อยให้เป็นรูปหน้าแจ็ค โอ แลนเทิร์น โดยระวังไม่ให้แกะลึกเกินไปเพราะจะกลายเป็นรู ถ้าให้เด็กๆ ทานด้วยแกะสลักหน้าแจ็ค โอ แลนเทิร์น ให้ดูใจดีหน่อยจะได้ไม่น่ากลัวเกินไป
4) หั่นเนื้อฟักทองที่คว้านออกมาเป็นชิ้นใหญ่พอดีคำ หั่นเนื้อไก่และแครอท 5) ใช้เครื่องปรุงรสทำสตูว์กึ่งสำเร็จรูปชนิดก้อนยี่ห้อ S&B หรือเฮ้าส์ ซึ่งมีจำหน่ายที่ ยูเอฟเอ็ม ฟูจิ ซูเปอร์ โดยทำตามวิธีที่ระบุที่ตัวสินค้าและเปลี่ยนจากมันฝรั่งมาใช้ฟักทองแทน และเพิ่มความอร่อยด้วยการใส่เห็ดลงไปด้วย
อีเว้นท์พิเศษวันฮาโลวีนที่ UFM Fuji Super
กิจกรรมวาดภาพระบายสีวันฮาโลวีน
UFM Fuji Super ชวนฉลองฮาโลวีนด้วยกิจกรรมวาดภาพระบายสี เพื่อลุ้นรับของขวัญจากร้าน เพียงรับกระดาษแบบฟอร์มร่วมกิจกรรมวาดภาพระบายสีที่เคาน์เตอร์บริการลูกค้าภายในยูเอฟเอ็ม ฟูจิ ซูเปอร์ทุกสาขา ให้คุณหนูๆ ไปวาดรูประบายสีที่เกี่ยวข้องกับฮาโลวีนแล้วนำมาส่งที่ร้าน ก็รับไปเลยของขวัญเล็กๆ น้อยๆ จากทางร้าน แต่ต้องรีบหน่อยเพราะของรางวัลมีจำนวนจำกัด ภาพวาดที่เข้าร่วมกิจกรรมจะถูกนำมาติดแสดงที่ร้านจนถึงกลางเดือนพฤศจิกายน
ตัวอย่างภาพวาดในจินตนาการของเด็กๆ
ส่วนใครที่ไม่ได้เข้าร่วมกิจกรรม ในช่วงเทศกาลฮาโลวีนทางร้านมีขนมพิเศษต้อนรับฮาโลวีนวางจำหน่ายในจำนวนจำกัด อย่าลืมไปเดินเล่นเลือกซื้อขนมกันนะ
ช่วงเวลาร่วมสนุก: 1 ตุลาคมเป็นต้นไป
สาขาที่ให้บริการ: 4 สาขา ได้แก่ สาขา 1 สุขุมวิท 33/1, สาขา 2 สุขุมวิท 39 (พร้อมพงษ์), สาขา 3 สุขุมวิท 39 (ซอยพร้อมศรี 1) และสาขา 4 สุขุมวิท 49
เวลาทำการ: ทุกวัน 8:00-22:00 น. (ช่วงสถานการณ์โควิด-19 ปิด 21:00 น.)
หมายเหตุ: กระดาษแบบฟอร์มและของรางวัลมีจำนวนจำกัด ทางร้านขอสงวนสิทธิ์ให้ผู้ที่มาส่งก่อน และสงวนสิทธิ์ในการคืนภาพวาด
อ่านบทความที่น่าสนใจอื่นๆ เกี่ยวกับญี่ปุ่นได้ที่นี่