ฤดูเก็บเกี่ยว ‘ข้าวใหม่’ ในญี่ปุ่น ช่วงเวลาแห่งการจับจองข้าวใหม่ประจำปีซึ่งว่ากันว่าอร่อยที่สุด
สารบัญ
ฤดูใบไม้ร่วงช่วงเวลาแห่งการเก็บเกี่ยว “ข้าวใหม่” 🌾
จุดร่วมที่คนไทยและคนญี่ปุ่นเหมือนกันก็คือเป็นประเทศที่มีวัฒนธรรมการรับประทานข้าวเป็นอาหารหลัก สำหรับฤดูใบไม้ร่วงนี้เป็นช่วงเวลาแห่งการเก็บเกี่ยวข้าวของเกษตรกรชาวญี่ปุ่น ซึ่งเกิดขึ้นเพียงปีละครั้งเท่านั้น พอเข้าสู่ช่วงฤดูกาลนี้ ข้าวเก็บเกี่ยวใหม่ของปีก็จะเริ่มวางจำหน่ายในห้างร้านต่างๆ คำว่า “ข้าวใหม่” (Shinmai : 新米) ใช้เรียกข้าวที่เก็บเกี่ยวในช่วงฤดูใบไม้ร่วง นำมาขัดสีและแพ็คใส่บรรจุภัณฑ์ จากนั้นนำไปจัดจำหน่ายภายในวันที่ 31 ธันวาคมของปีนั้นๆ
ข้าวใหม่ของปี ค.ศ. 2021 ก็คือข้าวที่เก็บเกี่ยวในช่วงฤดูใบไม้ร่วงของปี ค.ศ. 2021 และวางจำหน่ายในท้องตลาดตั้งแต่หลังเก็บเกี่ยวไปจนถึงประมาณต้นปี ค.ศ. 2022 โดยช่วงเวลาที่แน่นอนอาจจะแตกต่างกันเล็กน้อยตามแต่ละภูมิภาค ดังนั้นข้าวที่นำไปขัดสีและแพ็คบรรจุภัณฑ์หลังจากวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 2022 เป็นต้นไป จะเป็นข้าวที่เก็บเกี่ยวในปี ค.ศ. 2021 ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกันกับข้าวใหม่นั่นเอง โดยข้อมูลเหล่านี้จะเขียนระบุไว้ที่แพ็กเกจสินค้า
ช่วงเวลาจำหน่ายข้าวใหม่
ช่วงเวลาที่ “ข้าวใหม่” ของปีนั้นๆ ออกวางจำหน่ายในท้องตลาดจะแตกต่างกันไปตามสภาพอากาศของแต่ละภูมิภาค โดยปกติแล้วจะเป็นไปตามช่วงเวลาดังนี้
✧ เดือนกรกฎาคม: เริ่มจากทางใต้คือเกาะโอกินาว่าและภูมิภาคคิวชูบางส่วน
✧ เดือนสิงหาคม: ภูมิภาคคิวชูส่วนที่เหลือ ภูมิภาคคันไซ ภูมิภาคโทไค (จังหวัดไอจิ, กิฟุ, มิเอะ, ชิซูโอกะ) และภูมิภาคโฮคุริคุ (จังหวัดนีงาตะ, อิชิกาวะ, โทยามะ, ฟุกุอิ)
✧ เดือนกันยายน: ภูมิภาคคันโต โทโฮคุ และฮอกไกโดตามลำดับ
นอกจากนี้ฤดูกาลเก็บเกี่ยวอาจจะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ของข้าวด้วย แต่โดยทั่วไปจะอยู่ระหว่างเดือนสิงหาคมถึงตุลาคม อีกทั้งข้าวบางประเภทที่มีขั้นตอนอื่นๆ ภายหลังการเก็บเกี่ยว เช่น ข้าวที่ตากแห้งตามธรรมชาติ ก็จะออกสู่ตลาดช้ากว่าข้าวอื่นๆ แต่ไม่ว่าข้าวสายพันธุ์ใดๆ ก็ผ่านการคัดเลือกสายพันธุ์ที่เหมาะสมกับสภาพอากาศของญี่ปุ่นและสภาพภูมิประเทศแต่ละพื้นที่แล้ว
เคล็ดลับการเลือกข้าวใหม่
ญี่ปุ่นมีกฎหมายเกี่ยวกับการแสดงข้อมูลต่างๆ ในบรรจุภัณฑ์ของสินค้าข้าวสาร โดยจะต้องระบุ “ปีเก็บเกี่ยว” และ “ปีที่ทำการขัดสี” บนบรรจุภัณฑ์ ปีเก็บเกี่ยวมักจะแสดงด้วยปีรัชสมัยของญี่ปุ่น เช่น ถ้าที่แพ็คระบุปีเก็บเกี่ยวว่า 03年産 แสดงว่าเก็บเกี่ยวในปีเรวะที่ 3 (ค.ศ. 2021) นั่นเอง
นอกจากปีเก็บเกี่ยวแล้วเราก็ควรจะดูวันที่ทำการขัดสีประกอบร่วมด้วย หากวันที่ทำการขัดสียิ่งใหม่เท่าไรข้าวก็ยิ่งอร่อย
02年産 คือ เก็บเกี่ยวปีเรวะที่ 2 (หรือปี ค.ศ. 2020)
精米年月日 คือ วันเดือนปีที่ทำการขัดสี
*การระบุวันที่แบบญี่ปุ่นเรียงแบบ ปี-เดือน-วัน
วิธีการหุงข้าวใหม่ให้อร่อย
ชาวญี่ปุ่นค่อนข้างพิถีพิถันเรื่องข้าวเป็นอย่างมาก แต่วันนี้จะขอแนะนำเคล็ดลับง่ายๆ ที่ทุกคนสามารถไปลองทำได้ตามวิธีด้านล่างนี้
1) ซาวข้าวเบาๆ เทน้ำออก จากนั้นนำข้าวใส่กระชอนพักไว้ 30 นาที เพื่อให้เมล็ดข้าวแต่ละเมล็ดดูดซึมน้ำได้ทั่วถึงและเท่าเทียมกัน อีกทั้งจะช่วยให้ข้าวนุ่มเมื่อหุงเสร็จ
2) หลังจากนั้นตวงข้าวด้วยถ้วยตวงแล้วหุงด้วยน้ำในปริมาณเท่ากันกับข้าว
เคล็ดลับเพิ่มความอร่อย
เมล็ดข้าวแห้งๆ จะดูดซึมน้ำได้ดีที่สุด ดังนั้นแนะนำให้ใช้น้ำแร่เป็นน้ำแรกในการซาวข้าว แล้วค่อยใช้น้ำธรรมดาในการซาวข้าวน้ำที่ 2 เป็นต้นไป ก่อนจะหุงด้วยน้ำแร่อีกครั้งจะได้ข้าวหุงใหม่ๆ เมล็ดขาวอวบ ส่งกลิ่นหอมกรุ่น เหนียวนุ่มเล็กน้อยกินเปล่าๆ ก็อร่อยแล้ว
คนญี่ปุ่นยังนิยมนำไปทำโอนิกิริ (ข้าวปั้นญี่ปุ่น) หรือนำไปรับประทานร่วมกับปลาซัมมะหรือปลาแซลมอนซึ่งเป็นอาหารประจำฤดูใบไม้ร่วงก็เข้ากันมากๆ
ใครที่ชอบกินข้าวญี่ปุ่นอยู่แล้วหรือคนที่ไม่เคยลองมาก่อน ช่วงเวลานี้ถือเป็นโอกาสดีที่จะลองนำข้าวของปีนี้ไปลองกินร่วมกับกับข้าวรสมือคุณแม่หรือกับข้าวสำเร็จรูปในชีวิตประจำวัน ก็เชื่อว่าจะช่วยเติมรสชาติให้มื้ออาหารนั้นได้ดีเลยล่ะ
ที่ยูเอฟเอ็ม ฟูจิ ซูเปอร์ (UFM Fuji Super) ซูเปอร์มาร์เก็ตจำหน่ายสินค้าญี่ปุ่นที่มากที่สุดในประเทศไทยก็นำเข้าข้าวใหม่ของญี่ปุ่นมาจำหน่ายเป็นประจำทุกปี สำหรับข้าวใหม่ของปีนี้มีกำหนดการวางจำหน่ายตั้งแต่วันที่ 8 พฤศจิกายนเป็นต้นไป (กำหนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลงอันเนื่องมาจากสถานการณ์การนำเข้า)
อีกทั้งมีข้าวสายพันธุ์ญี่ปุ่นที่ผลิตในไทยราคาคุ้มค่ามาให้เลือกสรรด้วย สินค้าน่าสนใจที่เราอยากแนะนำคือ “ข้าวมิโนริ” ข้าวญี่ปุ่นผลิตไทย ซึ่งรับประกันว่าเป็นข้าวที่ผ่านการขัดสีใหม่ไม่เกิน 1 เดือนเท่านั้น
นอกเหนือจากนี้ในเทศกาลข้าวใหม่ยังมีเครื่องปรุงรสสำหรับทำ “ทาคิโคมิโกะฮัง” หรือข้าวอบญี่ปุ่น เมนูข้าวอันเป็นที่รักของคนญี่ปุ่นวางจำหน่ายคู่กันด้วย ความดีงามคือมีวิธีทำระบุเป็นภาษาไทยอย่างละเอียดไว้ด้านหลังกล่อง น่าไปเลือกซื้อมาลองทำที่บ้านนะ
โปรโมชั่นพิเศษสำหรับสมาชิก UFM Fuji Super
พิเศษสำหรับสมาชิกผู้ถือบัตรสะสมคะแนน “BONUS CARD” ของยูเอฟเอ็ม ฟูจิ ซูเปอร์ เนื่องจากทุกวันที่ 10 ของเดือนเป็นวัน “Member Day” หากมาช็อปในวันนี้ ทางยูเอฟเอ็ม ฟูจิ ซูเปอร์จะเพิ่มคะแนนพิเศษให้สมาชิกสำหรับผู้ถือบัตรสะสมคะแนน BONUS CARD ในทุกการซื้อจากปกติซื้อ 25 บาท รับ 1 คะแนน
✧ พิเศษเฉพาะวันที่ 10 ของเดือน ซื้อ 25 บาท รับ 8 คะแนน
✧ สะสมครบ 800 คะแนน ใช้ชำระแทนเงินสดได้ 100 บาท
สำหรับลูกค้าที่ยังมีบัตรสมาชิก สามารถสมัครง่ายๆ เพื่อรับสิทธิพิเศษนี้ได้ฟรีทุกสาขา เพียงใช้หมายเลขบัตรประชาชนหรือหมายเลขพาสปอร์ต หมายเลขโทรศัพท์ และที่อยู่เท่านั้น
หมายเหตุ: โปรโมชั่นเพิ่มคะแนนพิเศษอาจมีการยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงโดยมิได้แจ้งล่วงหน้า
✨ รู้จัก UFM Fuji Super ✨
ยูเอฟเอ็ม ฟูจิ ซูเปอร์ เป็นซูเปอร์มาร์เก็ตที่รวบรวมสินค้าญี่ปุ่นเยอะที่สุดในเมืองไทย ปัจจุบันเปิดให้บริการทั้งหมด 4 สาขาในกรุงเทพฯ ได้แก่ สาขา 1 สุขุมวิท 33/1, สาขา 2 สุขุมวิท 39 (พร้อมพงษ์), สาขา 3 สุขุมวิท 39 (ซอยพร้อมศรี 1) และสาขา 4 สุขุมวิท 49
Info
Hours: 8:00-22:00 น. (ช่วงสถานการณ์โควิด-19 ปิด 21:00 น.)
Holiday: –
Website: www.ufmfujisuper.com