เทศกาลเซ็ตสึบุน ธรรมเนียม ปาถั่ว ปัดเป่าสิ่งชั่วร้าย ต้อนรับสิ่งดีๆ 🥜

วันเซ็ตสึบุนเป็นธรรมเนียมที่จัดขึ้นเพื่อปัดเป่าสิ่งชั่วร้ายและขอพรให้มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยโบราณ เมื่อถึงช่วงผลัดเปลี่ยนฤดูกาลชาวญี่ปุ่นเชื่อว่าสิ่งชั่วร้ายจะเข้ามาหาตัวเราได้ง่าย ประจวบกับช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ญี่ปุ่นนั้นมีอากาศหนาวจัดทำให้ร่างกายอาจเจ็บป่วยได้ง่ายที่สุด จึงมีการริเริ่มจัดพิธี “ทสึอินะ” ธรรมเนียมต้อนรับปีใหม่และขอพรให้มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง โดยพิธีนี้เริ่มต้นมาจากประเทศจีนในสมัยเฮอัน ซึ่งญี่ปุ่นก็ได้เริ่มรับเอาอิทธิพลทางด้านวัฒนธรรมจากจีนเข้ามา ทำให้มีการรับเอาพิธี “ทสึอินะ” ในฐานะพิธีวันสิ้นปีมาจัดในรั้ววังจักรพรรดิ โดยจะมี “องเมียวจิ” (นักพรตผู้ประกอบพิธีกรรม) มาร่วมพิธีเพื่อทำการปัดเป่าสิ่งชั่วร้าย พิธีการนี้เริ่มมีการปรับเปลี่ยนมาเรื่อยๆ จนกลายเป็นธรรมเนียมของชาวบ้านทั่วไป และเริ่มแพร่หลายจนกลายเป็น “เทศกาลเซ็ตสึบุน” นั่นเอง

เซ็ตสึบุน (節分) มีความหมายว่า “การแบ่งฤดูกาล” ซึ่งก็คือวันสิ้นสุดฤดูหนาวก่อนวันเริ่มฤดูใบไม้ผลิที่เรียกว่า ริชชุน (立春) ซึ่งจะมีความคลาดเคลื่อนเล็กน้อยในแต่ละปี ปกติวันเซ็ตสึบุนจะตรงกับวันที่ 3 กุมภาพันธ์ แต่ก็มีบางปีที่ตรงกับวันที่ 2 หรือ 4 กุมภาพันธ์ ซึ่งเหตุผลที่วันเซ็ตสึบุนไม่ตรงกันในบางปีนั้นเกี่ยวข้องกับเรื่องปีอธิกสุรทิน (ปีที่เดือนกุมภาพันธ์มี 29 วัน) ที่จำนวนวันในแต่ละปีไม่เท่ากันนั่นเอง

 

ธรรมเนียมการปาถั่วในวันเซ็ตสึบุน 

・ทำไมถึงปาถั่วในวันเซ็ตสึบุน ? 

การปาถั่วเริ่มขึ้นในสมัยมุโรมาจิ แต่เดิมชาวญี่ปุ่นมีความเชื่อในเรื่องอำนาจเร้นลับที่แฝงอยู่ในภาษาและคำพูด ธรรมเนียมการปาถั่วนั้น บ้างก็ว่ามีที่มาจากความเชื่อว่า ถั่ว=สิ่งชั่วร้าย เนื่องจากในภาษาญี่ปุ่น ถั่ว (豆) ออกเสียงว่า “มาเมะ” ซึ่งไปพ้องเสียงกับคำว่า “สิ่งชั่วร้าย” การปาถั่วจึงเปรียบเหมือนการขับไล่สิ่งชั่วร้ายออกไป แต่บ้างก็ว่าถั่วเป็นเหมือนสัญลักษณ์ของธัญพืช 5 ชนิด ได้แก่ ข้าว, ข้าวสาลี, ข้าวฟ่างยุ้งข้าว, ข้าวฟ่างหางกระรอก และถั่ว เนื่องด้วยชาวญี่ปุ่นมีวิถีชีวิตผูกพันกับเกษตรกรรมจึงมีความเชื่อว่ามีเทพเจ้าสิงอยู่ในเมล็ดธัญพืชเหล่านี้  ซึ่งถั่วที่ใช้ใน เทศกาลเซ็ตสึบุน มักจะใช้ถั่วเหลือง โดยจะนำไปคั่วในวันก่อนหน้าเพื่อป้องกันไม่ให้มีหน่อแตกออกมาในภายหลัง เนื่องจากเชื่อกันว่าถ้าถั่วมีหน่อแตกออกมาจะกลายเป็นลางร้าย จากนั้นเก็บใส่กล่องไม้แล้วนำไปเซ่นไหว้ที่ศาลเจ้าในบ้าน บางภูมิภาคก็ไม่ได้ใช้ถั่วเหลืองคั่วในการ ปาถั่ว เซ็ตสึบุน อาทิ จังหวัดนีงาตะ, ฟุกุชิมะ, ฮอกไกโด หรือจังหวัดที่มีการผลิตถั่วลิสงมากอย่างจังหวัดคาโกชิม่า มิยาซากิ ก็จะใช้ถั่วลิสงแทน ในจังหวัดที่มีหิมะตกมาก พอปาถั่วออกนอกบ้านถั่วก็จมหายไปในกองหิมะ ทำให้เก็บถั่วยาก จึงมักจะใช้ถั่วลิสงซึ่งใหญ่และเก็บได้ง่ายกว่า บางพื้นที่ก็ใช้ขนมที่มีชื่อเสียงในท้องถิ่นนั้นๆ เช่น จังหวัดยามากาตะจะใช้ “ถั่วเดนโรคุ” ซึ่งเป็นขนมที่มีชื่อเสียงของเมืองในการปาถั่ววันเซ็ตสึบุนแทน

 

・วิธีการปาถั่ว

เริ่มจากเปิดประตูบ้านและหน้าต่างเอาไว้ มือซ้ายถือกล่องไม้ใส่ถั่วพักไว้ราวๆ ระดับอกก่อนจะใช้มือขวาปาถั่วออกไป โดยเริ่มปาจากด้านในบ้านก่อน ทำทีเหมือนไล่ยักษ์ออกไปด้านนอก ระหว่างที่ปาถั่วก็ให้พูดว่า “โอนิ วะ โซโตะ (鬼は外) ยักษ์จงออกไป” เสร็จแล้วก็ปิดประตูทันทีเพื่อกันยักษ์ไม่ให้เข้าและกันโชคดีไม่ให้ออกไป จากนั้นก็จะปาถั่วเข้าไปด้านในบ้านบ้าง พร้อมกับพูดว่า “ฟุกุ วะ อุจิ (福は内) โชคดีจงเข้ามา” โดยเริ่มทำจากด้านในจนมาจบที่ประตูทางเข้าบ้าน หลังจากปาถั่วเสร็จแล้วก็จะกินถั่วจำนวนเท่ากับอายุตนเอง+1 เม็ด ร่วมกันกับทุกคนในครอบครัว พร้อมอธิษฐานขอพรให้ปีนี้ไม่มีโชคร้ายมาเยือน ชาวญี่ปุ่นมีความเชื่อว่ายักษ์จะมาเยือนในตอนกลางคืน ดังนั้นการปาถั่วตอนกลางคืนช่วงเวลา 20:00-22:00 น. จะเหมาะสมที่สุด อย่างไรก็ตามวิธีการปาถั่วหรือเกร็ดเล็กๆ น้อยๆ นั้นอาจแตกต่างกันไปตามแต่ละภูมิภาค

เมนูอาหารนำโชคประจำเทศกาลเซ็ตสึบุน

ธรรมเนียมการปาถั่วเซ็ตสึบุนนั้นค่อนข้างแพร่หลายทั่วทั้งประเทศญี่ปุ่น ส่วนอาหารประจำเทศกาลเซ็ตสึบุนก็จะแตกต่างกันไปตามแต่ละภูมิภาค วันนี้เราจะมาแนะนำให้รู้จักกัน

・เอโฮมากิซูชิ 恵方巻き (ซูชิห่อสาหร่ายแท่งนำโชค)

เอโฮมากิซูชิ มีต้นกำเนิดมาจากโอซาก้า เชื่อกันว่าหากกินเอโฮมากิให้หมดแท่งโดยไม่พูดคุยกันในวันเซ็ตสึบุนแล้วหันหน้าไปทางทิศโชคดีของปีนั้นๆ จะนำพาแต่โชคดีมาให้ตลอดทั้งปี สำหรับทิศโชคดีของปีนี้คือ “ทิศตะวันตกเฉียงเหนือค่อนไปทางเหนือ” ใครที่อยากลองกินเอโฮมากิซูชิก็สามารถหาซื้อได้ที่ UFM Fuji Super ในทุกเทศกาลวันเซ็ตสึบุน วันที่ 3 กุมภาพันธ์ ของทุกปี

・ซุปเคงจิน けんちん汁

ซุปที่อุดมไปด้วยเครื่องมากมาย เช่น หัวไชเท้า, แครอท และโกโบ เป็นต้น ถือเป็นอาหารสิริมงคล เมื่อกินในวันเซ็ตสึบุนจะเป็นการอวยพรให้ไม่มีโรคภัยหรือโชคร้ายมาเยือน ทั้งยังดีต่อสุขภาพ และเมนูนี้มักจะกินกันในพื้นที่บางส่วนของแถบคันโต

・เซ็ตสึบุนโซบะ 節分そば

การกินเซ็ตสึบุนโซบะยังคงหลงเหลือเป็นธรรมเนียมโบราณในบางพื้นที่ เช่น จังหวัดชิมาเนะและจังหวัดนากาโน่ เนื่องจากเส้นโซบะเป็นเส้นที่สามารถเคี้ยวและกัดได้ง่าย จึงเป็นเคล็ดว่าสิ่งไม่ดีต่างๆ ก็จะตัดขาดออกไปได้ง่ายเช่นกัน หากอยากลองกินเซ็ตสึบุนโซบะก็สามารถหาซื้อวัตถุดิบต่างๆ ได้ที่ UFM Fuji Super

ตั้งแต่ช่วงนี้ไปจนถึงวันที่ 3 กุมภาพันธ์ ที่ UFM Fuji Super จะมีการจัดตกแต่งเทศกาลเซ็ตสึบุน รวมถึงขายสินค้าที่เกี่ยวข้องต่างๆ โดยเฉพาะในแผนกอาหารสำเร็จรูป ใครที่อยากสัมผัสบรรยากาศของเทศกาลเซ็ตสึบุนก็ลองแวะมาเดินเล่นที่ UFM Fuji Super กันได้เลย

 

โปรโมชั่นพิเศษสำหรับสมาชิก UFM Fuji Super

พิเศษสำหรับสมาชิกผู้ถือบัตรสะสมคะแนน “BONUS CARD” ของยูเอฟเอ็ม ฟูจิ ซูเปอร์ เนื่องจากทุกวันที่ 10 ของเดือนเป็นวัน “Member Day” หากมาช็อปในวันนี้ ทางยูเอฟเอ็ม ฟูจิ ซูเปอร์จะเพิ่มคะแนนพิเศษให้สมาชิกสำหรับผู้ถือบัตรสะสมคะแนน BONUS CARD ในทุกการซื้อจากปกติซื้อ 25 บาท รับ 1 คะแนน

✧ พิเศษเฉพาะวันที่ 10 ของเดือน ซื้อ 25 บาท รับ 8 คะแนน
✧ สะสมครบ 800 คะแนน ใช้ชำระแทนเงินสดได้ 100 บาท

สำหรับลูกค้าที่ยังไม่มีบัตรสมาชิก สามารถสมัครง่ายๆ เพื่อรับสิทธิพิเศษนี้ได้ฟรีทุกสาขา เพียงใช้หมายเลขบัตรประชาชนหรือหมายเลขพาสปอร์ต หมายเลขโทรศัพท์ และที่อยู่เท่านั้น

หมายเหตุ: โปรโมชั่นเพิ่มคะแนนพิเศษอาจมีการยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงโดยมิได้แจ้งล่วงหน้า

 

✨ รู้จัก UFM Fuji Super ✨

ฉลอง วันแห่งการกินปลาไหล ที่ UFM Fuji Super

ยูเอฟเอ็ม ฟูจิ ซูเปอร์ เป็นซูเปอร์มาร์เก็ตที่รวบรวมสินค้าญี่ปุ่นเยอะที่สุดในเมืองไทย ปัจจุบันเปิดให้บริการทั้งหมด 4 สาขาในกรุงเทพฯ ได้แก่ สาขา 1 สุขุมวิท 33/1, สาขา 2 สุขุมวิท 39 (พร้อมพงษ์), สาขา 3 สุขุมวิท 39 (ซอยพร้อมศรี 1) และสาขา 4 สุขุมวิท 49

Info
Hours: 8:00-22:00 น. (ช่วงสถานการณ์โควิด-19 ปิด 21:00 น.)
Holiday:
Website: www.ufmfujisuper.com

LIKE & SHARE

ชอบเรื่องนี้จนต้องบอกต่อ