ปีใหม่ ชาวญี่ปุ่น

ญี่ปุ่นเป็นอีกหนึ่งประเทศที่ให้ความสำคัญกับเทศกาล ปีใหม่ มีหลายธรรมเนียมปฏิบัติที่ ชาวญี่ปุ่น ทำสืบทอดต่อกันมาอย่างยาวนาน ตั้งแต่สิ่งที่ทำก่อนปีใหม่ ทำในวันปีใหม่ และทำหลังจากปีใหม่ ไม่ว่าจะเป็นการทำความสะอาดปัดฝุ่นเขม่าต้อนรับปีใหม่ การประดับตกแต่งบ้านด้วยของมงคลต่างๆ อีกทั้งยังมีเมนูอาหารเสริมโชคลาภที่เอาไว้กินเฉพาะในช่วงปีใหม่ ได้แก่ โทชิโคชิโซบะ, โอเซจิ, ฟุคุฉะ, โอโซนิ, ข้าวต้มนานากุสะกายุ และคางามิบิรากิ ครั้งนี้คิจิจะมาบอกเล่าถึงที่มาที่ไปของธรรมเนียมและความหมายของการกินอาหารต่างๆ ซึ่งบอกเลยว่าน่าสนใจทีเดียว

 

วันขึ้น ปีใหม่ ในความหมายของ ชาวญี่ปุ่น

วันขึ้นปีใหม่ถือเป็นวันแห่งการเริ่มต้นสำหรับปีใหม่ แต่ละครอบครัวจะต้อนรับเทพเจ้าแห่งปีใหม่ พร้อมกับอธิษฐานให้พืชผลที่เก็บเกี่ยวอุดมสมบูรณ์, ขอให้ครอบครัวอยู่รอดปลอดภัยและมีสุขภาพแข็งแรง อีกทั้งยังเชื่อกันว่าเทพเจ้าแห่งปีใหม่จะอยู่ในช่วงตั้งแต่วันที่ 1 ถึงวันที่ 7 มกราคม นอกจากนี้ใน “วันปีใหม่ (元日)” หรือวันที่ 1 มกราคม จะมีธรรมเนียมให้หยุดกวาดบ้านเพื่อไม่ให้เป็นการกวาดเอาเสื้อผ้าที่เทพเจ้าแห่งปีนำมา

ปีใหม่ ชาวญี่ปุ่น

 

เทพเจ้าแห่งปี (歳神様)

ในวันปีใหม่จะมีเทพเจ้าแห่งปีหรือที่คนญี่ปุ่นทั่วไปเรียกว่า “โทชิกามิซามะ” จะลงมาจากภูเขาสูงเพื่อมอบความสุขให้กับผู้คนในช่วงปีใหม่ เรียกอีกอย่างว่า “โชกัตสึซามะ” หรือ “โทชิโตคุจิน” คนสมัยก่อนเชื่อว่าวิญญาณของบรรพบุรุษกลายเป็นเทพเจ้าแห่งท้องทุ่งและขุนเขา และกลายเป็นเทพเจ้าประจำปีใหม่เพื่อดูแลความเจริญรุ่งเรืองของลูกหลาน ดังนั้นเพื่อเป็นการรับพร ขนบธรรมเนียมและกิจกรรมต่างๆ จึงถือกำเนิดขึ้นเพื่อต้อนรับและเฉลิมฉลองเทพเจ้าแห่งปี

ปีใหม่ ชาวญี่ปุ่น

 

การทำความสะอาดปัดฝุ่นเขม่าต้อนรับปีใหม่

คนญี่ปุ่นจะมีวันแห่งการทำความสะอาดครั้งใหญ่ประจำปี เรียกว่า “สุสุฮาราอิ โนะ ฮิ (すす払いの日)” เนื่องจากตลอดระยะเวลาในหนึ่งปีนั้นจะมีฝุ่นและเขม่าต่างๆ สะสมในบ้านเป็นจำนวนมาก  อีกทั้งในสมัยก่อนวันที่ 13 ธันวาคมของทุกปี จะเรียกกันว่าเป็นวัน “โชกัตสึโกโตฮาจิเมะ (正月事始め)” นั่นก็คือวันเตรียมการสำหรับก่อนวันขึ้นปีใหม่ จะมีการทำความสะอาดแท่นบูชาพระพุทธรูป ศาลเจ้า ซึ่งเป็นธรรมเนียมที่เริ่มต้นขึ้นจากความศรัทธามากกว่าเพียงแค่ทำความสะอาดบ้านธรรมดา

การทำความสะอาดปัดฝุ่นเขม่านี้ยังถือปฏิบัติกันมาจนถึงตอนนี้ อีกทั้งในปัจจุบันยังมีโฆษณาตามสื่อต่างๆ เกี่ยวกับอุปกรณ์ทำความสะอาดบ้านและวัดให้เห็นกันอยู่เป็นประจำ รวมถึงยังถือเป็นการเคลื่อนย้ายเฟอร์นิเจอร์ในบ้านให้ใช้งานสะดวกขึ้น นำสิ่งของที่ไม่จำเป็นทิ้งไป ทำความสะอาดห้องน้ำ ปัดฝุ่นเขม่าต่างๆ ตามซอกเล็กซอกน้อยที่ปกติแล้วมักจะทำความสะอาดไม่ทั่วถึง

 

การประดับตกแต่งบ้านในวันปีใหม่ 🎍

ชาวญี่ปุ่น มีวัฒนธรรมการต้อนรับเทพเจ้าแห่งปี จึงมีการนำสิ่งของต่างๆ มาตกแต่งตามบ้านเรือนในเทศกาลขึ้น ปีใหม่ ไม่ว่าจะเป็นตรงประตูบ้าน แท่นบูชา หรือห้องนั่งเล่น ซึ่งของตกแต่งแต่ละอย่างล้วนมีความหมายที่แตกต่างกันออกไป

・คาโดมัตสึ(かどまつ)

คาโดมัตสึจะทำหน้าที่เป็นจุดสังเกตให้เทพเจ้าแห่งปีเข้ามาในบ้าน ซึ่งปกติแล้วจะประดับไว้ตรงที่ประตูบ้าน แต่สำหรับคนที่พักอาศัยในอพาร์ทเมนต์หรือคอนโดมิเนียมก็อาจจะติดหรือแขวนไว้ที่ประตูหน้าห้องแทน

ปีใหม่ ชาวญี่ปุ่น

・ ชิเมะคาซาริ (しめかざり)

จะตกแต่งด้วยเชือกศักดิ์สิทธิ์, กระดาษตัดเป็นพู่, กิ่งไม้, รวงข้าว, ส้มไดได, กุ้งมังกร และใบเฟิร์น เป็นต้น มักจะติดไว้ตรงทางเข้าบ้าน แท่นบูชาชินโต ซุ้ม ฯลฯ เพื่อเป็นการบ่งบอกว่าสถานที่นั้นศักดิ์สิทธิ์และเหมาะสมกับเทพเจ้าแห่งปี นอกจากนี้ยังสามารถใช้เป็นเครื่องรางได้อีกด้วย

ปีใหม่ ชาวญี่ปุ่น

・ คางามิโมจิ (鏡餅)

คางามิโมจิ ถือว่าเป็นสถานที่ที่เทพเจ้าแห่งปีสถิตอยู่ โดยทั่วไปแล้วคางามิโมจิจะถูกวางประดับอยู่บริเวณที่โล่ง ห้องนั่งเล่น ห้องครัว หรือบริเวณที่คนในครอบครัวใช้ร่วมกัน นอกจากนี้คางามิโมจิยังถูกวางไว้ที่ศาลเจ้าด้วยเช่นกัน หลังจากนั้นจะนำคางามิโมจิมากินในรูปแบบของโอโซนิหรือนำไปย่าง เพื่อสื่อถึงการนำเอาวิญญาณเทพเจ้าเข้าสู่ร่างกาย หรือการนำเอาความโชคดีเข้าสู่ชีวิตนั่นเอง

ช่วงวลาที่เริ่มตกแต่งบ้าน

การตกแต่งคาโดมัตสึ ชิเมนาวะ และคางามิโมจิจะทำหลังจากทำความสะอาดบ้านทั้งหลังเรียบร้อยแล้วเพื่อเป็นการต้อนรับปีใหม่ มีจุดประสงค์เพื่อเชิญชวนเทพเจ้าปีใหม่เข้ามาในบ้าน ดังนั้นสิ่งสำคัญคือต้องวางให้เป็นจุดสังเกตที่ชัดเจน การตกแต่งควรทำให้เสร็จสิ้นในช่วงระหว่างวันที่ 13-28 ธันวาคม หรืออย่างช้าที่สุดคือวันที่ 30 ธันวาคม และจะหลีกเลี่ยงวันที่ 31 ธันวาคม ซึ่งจะเรียกว่า “อิจิยาคาซาริ” หมายถึงการตกแต่งแค่คืนเดียว จะถือเป็นการไม่ให้เกียรติเทพเจ้าแห่งปี อีกทั้งเชื่อกันว่าสิ่งนี้จะนำความโชคร้ายมาสู่บ้าน นอกจากนี้วันที่ 29 ธันวาคม ยังถือเป็นวันอัปมงคลจึงควรหลีกเลี่ยงเช่นกัน

ของตกแต่งควรเก็บเมื่อไหร่

ตั้งแต่วันปีใหม่ถึงวันที่ 7 (หรือวันที่ 15 ในบางภูมิภาค) ชาวญี่ปุ่นเรียกว่า “มัตสึโนะอุจิ” ถือเป็นช่วงที่เทพเจ้าแห่งปีปรากฏตัว โดยทั่วไปแล้วจึงจะเก็บของประดับตกแต่งปีใหม่กันประมาณวันที่ 7 มกราคมเป็นต้นไป

 

กินโซบะในวันส่งท้ายปีเก่า

วันสุดท้ายของปีวันที่ 31 ธันวาคม เรียกว่า “โอมิโซกะ (大晦日)” แต่ละครอบครัวจะกินโทชิโคชิโซบะ (โซบะข้ามปี) พร้อมหน้าพร้อมตากัน ว่ากันว่าการกินโซบะนั้นเพื่อเป็นการขอพรให้มีอายุยืนยาวเนื่องจากเส้นโซบะมีความบางและยาว แต่เมื่อเทียบกับเส้นอื่นๆ แล้วเส้นโซบะจะตัดขาดตรงกลางได้ง่ายกว่า ถือเป็นสิริมงคลหมายถึงการขจัดความยากลำบากและเพิ่มโชค สามารถกินโซบะตอนไหนก็ได้แต่ควรกินให้เสร็จก่อนปีใหม่ หากกินหลังปีใหม่จะถือว่าเป็นอัปมงคล

โซบะ ปีใหม่ ชาวญี่ปุ่น

 

ตีระฆังส่งท้ายวันปีเก่า

ในคืนวันส่งท้ายปีเก่าจะมีการตีระฆังใหญ่ที่วัด โดยจะเริ่มในเวลาประมาณเที่ยงคืน จำนวน 108 ครั้ง ซึ่งเป็นจำนวนที่แสดงถึงความปรารถนาทางโลกของมนุษย์ และเป็นการส่งสัญญานว่าได้ก้าวเข้าสู่ปีใหม่แล้ว

ปีใหม่ ชาวญี่ปุ่น

 

อาหารที่กินในวันขึ้นปีใหม่

ในวันปีใหม่ชาวญี่ปุ่นถือเป็นวันแห่งการเฉลิมฉลอง โดยจะฉลองด้วยการกินอาหารโอเซจิ ตะเกียบฉลอง ชานำโชค รวมไปถึงโอโซนิด้วยเช่นกัน 

อาหารโอเซจิ (おせち料理)

อาหารโอเซจิ เป็นอาหารที่ถูกคิดค้นขึ้นเพื่อให้กินอย่างเพลิดเพลินในวันขึ้นปีใหม่พร้อมกับครอบครัว โดยสามารถกินได้ภายใน 1-3 วัน เดิมทีแล้วอาหารโอเซจิเป็นเครื่องบูชาแด่เทพเจ้าแห่งปีใหม่ แต่ในยุคปัจจุบันกลายเป็นอาหารที่กินในวันขึ้นปีใหม่ การกินอาหารที่ถวายแด่เทพนั้นเพื่อที่จะรับพลังของเทพเจ้าเข้าสู่ร่างกายนั่นเอง

ส่วนตะเกียบที่ใช้ในการกินอาหารโอเซจินั้นเรียกว่า “อิวาอิบาชิ (祝い箸)” ทั้งปลายและด้ามจับของตะเกียบนั้นจะบาง โดยตะเกียบข้างหนึ่งสำหรับเทพเจ้าแห่งปีและอีกข้างสำหรับมนุษย์ ซึ่งหมายความว่าเทพเจ้าแห่งปีและมนุษย์กินด้วยกัน ให้เขียนชื่อของเราไว้บนถุงตะเกียบและใช้ตะเกียบเป็นเวลา 3 วัน

ฟุคุฉะ (福茶)

ชานำโชคที่ใส่บ๊วยดอง (อุเมะโบชิ), สาหร่ายคอมบุเค็ม, ถั่วแระดำหรือถั่วเหลือง และพริกไทยญี่ปุ่นลงในน้ำร้อน การดื่มฟุคุฉะนั้นเป็นการอธิษฐานให้มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง

โอโซนิ (お雑煮)

โอโซนิ คือการกินโมจิที่มีพลังของเทพเจ้าแห่งปี ว่ากันว่าหากได้กินแล้วจะทำให้มีพละกำลัง บางบ้านทำโอโซนิกินเอง ซึ่งจะเป็นรสชาติของบ้านนั้นๆ ใส่ทั้งมิโซะ โชยุ และวัตถุดิบอื่นๆ มากมาย แต่ที่ร้านอาหารก็มีโอโซนิแบบพร้อมกินจำหน่ายอยู่ด้วยเช่นกัน

นานากุสะกายุ (七草がゆ)

ในวันที่ 7 มกราคมของทุกปี จะมีการกินนานากุสะกายุ เป็นการทำข้าวต้มด้วยผักสมุนไพร 7 ชนิด ได้แก่ เซริ, นาซึนะ, ฮาฮาโกกุสะ, โกโอนิตาบิราโกะ, โฮโตเคะโนสะ, ซุซุนะ, และซุสุชิโระ แต่ละชนิดมีประสิทธิภาพในการบรรเทาอาการอ่อนล้าของกระเพาะอาหารและลำไส้ที่เกิดจากการกินจำนวนมากในช่วงฉลองปีใหม่ อีกทั้งยังช่วยป้องกันหวัดและเสริมวิตามินที่มักจะขาดในฤดูหนาว นอกจากนี้การกินนานากุสะกายุยังถือเป็นการขอพรให้มีสุขภาพแข็งแรง

คางามิบิรากิ (鏡開き)

วันส่งพระเจ้าแห่งปี โดยทั่วไปคือวันที่ 11 มกราคม (อาจจะแตกต่างกันไปในแต่ละภูมิภาค) จะมีการเปิด “คางามิโมจิ (鏡餅)” โมจิปั้น 2 ลูกซ้อนกัน ด้านบนเป็นส้มไดได ในวันคางามิบิรากิจะมีการทุบคางามิโมจิด้วยค้อนเป็นชิ้นเล็กๆ หลังจากนั้นนำมาใส่ในอาหารหรือขนม แล้วกินโดยไม่ให้เหลือแม้แต่ชิ้นเดียว เพื่อเป็นการอธิษฐานให้คนในบ้านพ้นจากโรคภัยไข้เจ็บ

ปีใหม่ ชาวญี่ปุ่น

 

ช็อปปิ้งสินค้าเทศกาลปีใหม่ได้ที่ UFM Fuji Super

เทศกาลปีใหม่นี้ที่ UFM Fuji Super ก็ได้วางจำหน่ายคางามิโมจิให้ไปจับจองกัน อีกทั้งวัตถุดิบปีใหม่ของแบรนด์ Kibun ก็ลดราคาเช่นกัน! บอกเลยว่าให้รีบ เนื่องจากมีจำนวนจำกัด!

นอกจากนี้ที่ UFM Fuji Super ยังมีวัตถุดิบสำหรับทำเมนูปาร์ตี้ในวันเทศกาลเฉลิมฉลองวันขึ้นปีใหม่ เช่น สุกี้ยากี้ สเต็ก และอื่นๆ อีกมากมาย รวมไปถึงตะเกียบอิวาบาชิ, ถั่วอะซูกิสำหรับโซนิ และอุปกรณ์ทำความสะอาดต่างๆ ยิ่งในโอกาสพิเศษอย่างนี้บอกเลยว่าห้ามพลาด สามารถไปเลือกซื้อสินค้าที่ UFM Fuji Super  ทุกสาขาได้เลย

 

โปรโมชั่นพิเศษสำหรับสมาชิก UFM Fuji Super

พิเศษสำหรับสมาชิกผู้ถือบัตรสะสมคะแนน “BONUS CARD” ของยูเอฟเอ็ม ฟูจิ ซูเปอร์ เนื่องจากทุกวันที่ 10 ของเดือนเป็นวัน “Member Day” หากมาช็อปในวันนี้ ทางยูเอฟเอ็ม ฟูจิ ซูเปอร์จะเพิ่มคะแนนพิเศษให้สมาชิกสำหรับผู้ถือบัตรสะสมคะแนน BONUS CARD ในทุกการซื้อ 25 บาท รับ 1 คะแนน สะสมครบ 800 คะแนน ใช้ชำระแทนเงินสดได้ 100 บาท

✧ พิเศษเฉพาะวันที่ 10 ของเดือน ซื้อ 25 บาท รับเพิ่ม 8 เท่า (8 คะแนน)

✧ พิเศษทุกวันอาทิตย์ของสัปดาห์ ซื้อ 25 บาท รับเพิ่ม 5 เท่า (5 คะแนน)

สำหรับลูกค้าที่ยังไม่มีบัตรสมาชิก สามารถสมัครง่ายๆ เพื่อรับสิทธิพิเศษนี้ได้ที่เซอร์วิสเค้าท์เตอร์ฟรีทุกสาขา เพียงใช้หมายเลขบัตรประชาชนหรือหมายเลขพาสปอร์ต หมายเลขโทรศัพท์ และที่อยู่เท่านั้น

หมายเหตุ:

* โปรโมชั่นเพิ่มคะแนนพิเศษอาจมีการยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงโดยมิได้แจ้งล่วงหน้า

**สินค้ากลุ่มสุรา, บุหรี่, กระเช้าของขวัญที่มีส่วนลด, บัตรของขวัญ, บัตรโทรศัพท์ (Top Up Card, SIM Cared), กาแฟ, ผลไม้ JALUX, บริการจัดดอกไม้, สินค้าของผู้เช่าร้าน ไม่สามารถสะสมแต้มได้

 

✨ รู้จัก UFM Fuji Super ✨

ฉลอง วันแห่งการกินปลาไหล ที่ UFM Fuji Super

ยูเอฟเอ็ม ฟูจิ ซูเปอร์ เป็นซูเปอร์มาร์เก็ตที่รวบรวมสินค้าญี่ปุ่นเยอะที่สุดในเมืองไทย ปัจจุบันเปิดให้บริการทั้งหมด 4 สาขาในกรุงเทพฯ ได้แก่ สาขา 1 สุขุมวิท 33/1, สาขา 2 สุขุมวิท 39 (พร้อมพงษ์), สาขา 3 สุขุมวิท 39 (ซอยพร้อมศรี 1) และสาขา 4 สุขุมวิท 49

Info
Hours: 8:00-22:00 น.
Holiday:
Website: www.ufmfujisuper.com

LIKE & SHARE

ชอบเรื่องนี้จนต้องบอกต่อ