เมื่อภูมิปัญญาปักผ้าดั้งเดิม “ซาชิโกะโอริ” (Sashiko-ori) รวมเข้ากับดีไซน์สมัยใหม่ เกิดเป็นข้าวของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันโดย tenp หนึ่งแบรนด์คราฟต์น่าจับตามองในญี่ปุ่น 

ภูมิปัญญาปักผ้าดั้งเดิม “ซาชิโกะโอริ” (Sashiko-ori)

tenp เป็นแบรนด์ผ้าที่ดำเนินการโดยฟุคุดะ โทชิยูกิ (Toshiyuki Fukuda) ศิลปินภาพประกอบผู้โลดแล่นในวงการพู่กันมากว่า 30 ปี และทาคิกุจิ ซาโตชิ (Satoshi Takiguchi) สถาปนิกและอาร์ตไดเรกเตอร์ของแบรนด์ จากแรงบันดาลใจที่เห็นว่างานผ้าคือชีวิตประจำวัน คนจะใช้ผ้าไปเรื่อยๆ จนไม่เป็นทรงหรือสีซีด โดยหนึ่งในคอลเลคชั่นของแบรนด์ได้เลือกเอาภูมิปัญญาการปักแบบซาชิโกะโอริ ของจังหวัดฟุกุชิมะ (Fukushima) มาดีไซน์ให้จับต้องได้ง่ายขึ้น ด้วยความหวังให้คนรุ่นใหม่ยังสามารถสัมผัสและตื่นตาตื่นใจไปกับงานฝีมือสุดประณีตนี้ได้ ซึ่งปัจจุบันโอฮาซามะ เคนอิจิ (Kenichi Ohazama) เป็นช่างฝีมือเพียงคนเดียวในญี่ปุ่นที่สามารถทำได้

ตามฟุคุดะไปฟังเรื่องราวชวนใจฟูและเยี่ยมชมโรงงานสุดคราฟต์ขนานแท้ของโอฮาซามะ กว่าจะมาเป็นผ้าแต่ละผืนและสินค้าแต่ละชิ้นโดยแบรนด์ tenp แบบเอ็กซ์คลูซีฟ

 

ซาชิโกะ ภูมิปัญญาปักผ้าแบบดั้งเดิมของญี่ปุ่น

ซาชิโกะ” (Sashiko) คือการปักมือเป็นลวดลายแบบทรงเรขาคณิตลงไปบนเนื้อผ้า ปักทีละเข็มลงไปตามแนวผ้าอย่างเป็นระเบียบ จึงใช้เวลาในการปักค่อนข้างนาน แต่เดิมซาชิโกะเป็นสิ่งที่เกิดจากภูมิปัญญาชาวไร่ชาวนาที่ตกทอดกันมาในภูมิภาคโทโฮคุ เสื้อผ้าที่ชาวนาสวมใส่ในช่วงที่ต้องเผชิญกับสภาพอากาศหนาวที่โหดร้ายนั้นเป็นเสื้อคลุมทำจากป่านเรียกว่าโนรากิ (Noragi) เนื้อค่อนข้างบาง มีรูระบายอากาศลมผ่านได้ง่าย และราคาถูก ในช่วงสมัยเอโดะเริ่มมีการนำฝ้ายมาใช้ทอผ้ากันแล้ว แต่ขณะนั้นยังถือเป็นสิ่งที่มีราคาแพงมาก ดังนั้นชาวนาจึงต้องปักผ้าเสริมความหนาของเสื้อคลุมเพื่อเป็นการเพิ่มความอบอุ่นให้แก่ร่างกาย

ลวดลายแบบทรงเรขาคณิตของการปักแบบ Sashiko-ori

งานปักแบบซาชิโกะนั้นถือเป็นงานของผู้หญิง ได้ยินมาว่าไม่ใช่แค่งานที่ทำเพื่อหาเลี้ยงชีพธรรมดาๆ แต่เป็นหนึ่งในความสนุกสนานท่ามกลามฤดูหนาวแสนยาวนานที่จะได้ทุ่มเทเวลาไปกับการทำงานฝีมือพร้อมกับสร้างสรรค์ลวดลายออกมาด้วยนั่นเอง นอกจากนี้ในบางภูมิภาคยังมีเรื่องเล่ากันว่าคุณแม่จะตั้งใจปักผ้าแบบซาชิโกะลงบนชุดโนรากิแล้วมอบเป็นของขวัญให้แก่ลูกสาวด้วย

 

กิจการสิ่งทอซาชิโกะโอริที่เหลืออยู่เพียงรายเดียว

ธุรกิจครอบครัวของโอฮาซามะเริ่มต้นที่โยเนซาวะ (Yonezawa) จังหวัดยามากาตะ เมืองที่ขึ้นชื่อในเรื่องแหล่งผลิตสิ่งทอ นับแต่ต้นสมัยเอโดะแต่ละพื้นที่ในญี่ปุ่นมีการปลูกพืชที่ชื่อว่าคารามุชิ (หรือภาษาไทยเรียกว่า “ป่านรามี”) จากนั้นนำเส้นใยที่เรียกว่าอาโอโซะซึ่งได้จากต้นคารามุชิมาทอมือ ภูมิปัญญานี้ได้รับการพัฒนามาเป็นอุตสาหกรรมจากการที่ไดเมียวอุเอสึงิ ฮารุโนริ (Harunori Uesugi) แห่งแคว้นโยเนซาวะในอดีตนำมาใช้เป็นธงโบก ต่อมาในปี ค.ศ. 1776 แคว้นเอจิโกะ (Echigo) ได้รับช่างทอผ้าเข้ามาและสร้างโรงงานทอผ้าขึ้น เด็กสาวในท้องถิ่นจึงได้เล่าเรียนเทคนิคการทอผ้านั่นเอง ช่วงนี้เองที่ถือเป็นจุดเริ่มต้นของอุตสาหกรรมการทอผ้าของเมืองโยเนซาวะ

เมื่อเข้าสู่ช่วงสมัยเมจิมีการพัฒนาจากเครื่องทอผ้าด้วยมือเป็นเครื่องทอผ้าไฟฟ้าและได้ส่งออกสิ่งทอจำนวนมากไปต่างประเทศ พอถึงสมัยไทโชอุตสาหกรรมสิ่งทอมีความทันสมัยยิ่งขึ้นไปอีก จนในที่สุดก็ครองอันดับหนึ่งของเมืองที่สามารถผลิตผ้าสำหรับตัดกางเกงฮากามะ (กางเกงพิธีการแบบญี่ปุ่น) ได้มากที่สุด ตั้งแต่สมัยเมจิคนญี่ปุ่นนิยมแต่งกายด้วยเสื้อผ้าแบบตะวันตกมากขึ้นทีละนิด จนกระทั่งหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 คนทั่วไปก็หันมาใส่ชุดแบบตะวันตกกันเกือบทุกคน เมืองโยเนซาวะที่เป็นเสมือนแหล่งผลิตผ้าจำต้องพึ่งพาเทคโนโลยีในการสร้างผลิตภัณฑ์ที่รองรับเส้นด้ายทุกชนิด รวมถึงเส้นใยสังเคราะห์พร้อมกับพัฒนาสิ่งทอจากเส้นใยสังเคราะห์ในเวลาเดียวกัน

แม้แต่ที่บ้านของโอฮาซามะเองก็ได้รับเอาวัฒนธรรมการใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาใช้ ในปีโชวะที่ 23 (ค.ศ. 1948) ได้นำเครื่องจักรมาใช้ในการผลิตสิ่งทอซาชิโกะเป็นครั้งแรกและเหลือเพียงรายเดียวในปัจจุบันที่เรียกว่า “โยเนซาวะโอริ” (Yonezawa-ori) เมื่อเข้าสู่ประมาณปีโชวะที่ 50 (ค.ศ. 1975) เป็นช่วงที่เศรษฐกิจมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะผลิตอะไรออกมาก็ขายได้หมด ช่วงที่เฟื่องฟูที่สุดเห็นว่าขายดีขนาดที่เมืองโยเนซาวะที่เดียวมีโรงงานมากกว่า 400 แห่งที่ต้องผลิตสินค้าออกมาพร้อมกันตลอดเวลา แต่ว่าช่วงเวลาแห่งความสุขมักเป็นเพียงแค่ช่วงสั้นๆ จากนั้นอุตสาหกรรมสิ่งทอก็ค่อยๆ ซบเซาลงตามลำดับ

เพื่อไม่ให้เทคนิคการปักผ้าแบบซาชิโกะโอริหายไป โอฮาซามะก็ยังคงปักต่อไปและตัดสินใจเปิดรับไอเดียใหม่ๆ จาก tenp ด้วย

 

กว่าจะมาเป็นซาชิโกะโอริ

ปีโชวะที่ 55 (ค.ศ. 1980) โอฮาซามะย้ายบ้านจากเมืองโยเนซาวะไปที่จังหวัดฟุกุชิมะ โดยมี 2 เหตุผลหลักคือ ฟุกุชิมะอยู่ใกล้กับโตเกียวมากกว่าโยเนซาวะ สามารถนั่งชินคันเซ็นไปกลับโตเกียวได้ภายในวันเดียว อีกเหตุผลหนึ่งก็คือเพื่อที่จะไปพบกับอาจารย์ยานางิ โยชิทากะ (Yoshitaka Yanagi) หลานชายของยานางิ โซเซ็ตสึ (Sosetsu Yanagi) ผู้ขับเคลื่อนวงการงานศิลปะจากภูมิปัญญาชาวบ้านให้เป็นที่แพร่หลายทั่วญี่ปุ่น โดยถือเป็นผู้ที่ทำให้คำว่า Mingei (ศิลปะภูมิปัญญาชาวบ้าน) ให้กลายเป็นคำที่ใช้ต่อเนื่องมาจนถึงยุคปัจจุบัน อีกทั้งเป็นบุคคลสำคัญที่คร่ำหวอดในวงการสิ่งทอร่วมกันกับเซริซาวะ เคสุเกะ (Keisuke Serizawa) และเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยหญิงโจชิบิ (Joshibi University of Art and Design) ตั้งแต่ ค.ศ. 1949

โอฮาซามะไปหาคุณยานางิเพื่อขอคำปรึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพสิ่งทอ ลองผิดลองถูกหลายครั้งจนสามารถผลิตสิ่งทอคุณภาพดีออกมาได้ และค้นพบการใช้เครื่องทอผ้าที่เรียกว่า “ซาชิโกะโอริ” (Sashiko-ori) นั่นเอง ซาชิโกะโอริคือสิ่งทอที่มีลวดลายและเนื้อสัมผัสทำนองเดียวกับซาชิโกะทอมือ โดยทำให้ด้ายแนวตั้งหรือแนวขวางลอยขึ้นมาแบบมีมิติใช้การสอยเนื้อผ้าแบบสลับฟันปลา อีกทั้งเมื่อใช้เครื่องจักรทอทำให้สามารถทอผ้าที่มีลวดลายซับซ้อนมากขึ้นได้อีกด้วย ทว่าคนที่รู้เทคนิคการใช้เครื่องจักรแบบนี้มีจำนวนน้อยลงเรื่อยๆ เห็นว่านอกจากโอฮาซามะแล้วก็ไม่มีใครที่สามารถทอผ้าแบบนี้ออกมาได้อีก

ลวดลายที่ได้จากเครื่องทอนั้นถูกกำหนดโดยแผ่นกระดาษแข็งที่เรียกกันว่า มงกามิ หรือบัตรเจาะรูควบคุมการทอผ้า การทำงานของเครื่องจักรนี้จะคล้ายกับระบบของกล่องดนตรี ซึ่งบัตรเจาะรู 1 ใบจะแสดงข้อมูลแนวผ้าเพียง 1 แถวเท่านั้น เพราะฉะนั้นยิ่งลายมีขนาดใหญ่และซับซ้อนมากเท่าไร จำนวนบัตรเจาะรูก็ต้องใช้มากขึ้นตามลำดับ โดยปกติในการทอสูงสุดจะใช้ที่ประมาณ 480 ใบ แต่ผ้าของแบรนด์ tenp นั้นใช้มากถึง 912 ใบ 

กระบวนการผลิตขั้นตอนแรกฟุคุดะจะร่างลวดลายโดยการวาดมือ หลังจากนั้นให้ช่างเฉพาะทางทำแผ่นเจาะรูตามลวดลายที่วาดไว้ออกมาเป็นแผ่นกระดาษเจาะรูใบแล้วใบเล่า ต่อมาช่างจากร้านติดตั้งอุปกรณ์เป็นคนติดตั้งด้ายแนวตั้งและด้ายแนวนอนลงบนเครื่องเจาะบัตร (Jacquard Machine) สำหรับการทอผ้าครั้งนี้จะใช้ด้ายแนวตั้ง 2,460 เส้นกับด้ายแนวนอน 306 เส้น โดยเขาติดตั้งด้ายทั้งหมดนี้จนเสร็จสมบูรณ์ แต่เท่านี้ก็ยังไม่สามารถทอผ้าออกมาเป็นผืนได้ หลังจากนั้นโอฮาซามะก็ตั้งค่าความเร็วและความแรงของเครื่องจักร หาความสมดุลที่เหมาะสมที่สุดในการทอผ้าออกมาได้สวยงามอย่างเป็นระบบ ในปัจจุบันการทอผ้า 1 เมตรนั้นใช้เวลาราว 1 ชั่วโมง โอฮาซามะกล่าวว่า “ถ้าเร่งเครื่องให้ทำงานเร็วๆ ก็จะทอเสร็จได้ไวขึ้น แต่เนื้อผ้ามันจะไม่ดี” การหาความสมดุลที่ยอดเยี่ยมนั้นจะต้องใช้ประสบการณ์และเซนส์ที่สั่งสมมาเป็นเวลาหลายปีนั่นเอง

 

ฟุคุดะกับซาชิโกะโอริ

ฟุคุดะรู้จักซาชิโกะโอริเป็นครั้งแรกนั้นก็ราวๆ 5 ปีก่อน ได้ยินชื่อของมันตอนอยู่ที่ร้าน Kogensya ในเมืองโมริโอกะ (Morioka) สิ่งที่คิดครั้งแรกก็คือ “นี่เป็นดีไซน์แบบโบราณหรือแบบใหม่กันนะ” ต่อมาเขาก็เจอซาชิโกะโอริอีกครั้งที่ร้านค้าชื่อ in-kyo ในย่านเรียวโกคุ (Ryogoku) คุณนาคางาวะ จิเอะ (Chie Nakagawa) เจ้าของร้านบอกกับเขาว่าเราสามารถดีไซน์ลวดลายมันได้เอง ต้นทุนการผลิตก็ถูกกว่าซาชิโกะแบบทอมือด้วย ได้ยินอย่างนั้นเขาก็เลยเริ่มสนใจซาชิโกะโอริขึ้นมาและอยากลองดีไซน์ลายแบบ New Retro โดยนำกลิ่นอายจากยุคสมัยก่อนมาถ่ายทอดให้เหมือนกับว่าเป็นการบรรเลงดนตรีแนวอิเล็กทรอนิกส์ของวงครัฟท์แวร์ค (Kraftwerk) ที่ดังมากในยุคนั้น

 

ปรับสู่อนาคต

จะบอกว่าโบราณหรือทันสมัยก็บอกไม่ถูก เพราะที่จริงแล้วดีไซน์ของซาชิโกะนั้นต่างไปจากการวาดภาพโดยใช้เส้นอิสระ แต่เป็นการดีไซน์ตามแนวผ้า จึงออกมาเป็นลวดลายแบบหยาบๆ เหมือนกับพวกภาพพิกเซลแตกสมัยที่คอมพิวเตอร์ออกมาใหม่ๆ สิ่งที่ซาชิโกะโอรินั้นโดดเด่นก็คือ การทำแพทเทิร์นเดิมซ้ำไปมา โดยพื้นฐานแล้วจะเป็นลวดลายทรงเรขาคณิต อย่างที่กล่าวไปก่อนหน้านี้ว่าถ้าใช้บัตรเจาะรูแค่ไม่กี่ใบแล้วทอลายเดิมซ้ำๆ กันก็ไม่ใช่ขั้นตอนที่ยุ่งยากอะไร มันจะยากตอนที่ต้องคิดว่าเราจะเติมเอกลักษณ์อะไรลงไปในนั้น โดยเขาได้ออกแบบลวดลายของต้นไม้และดอกไม้ เป็นการรวมธรรมชาติเข้ากับทรงเรขาคณิต หรือถ้าดูดีๆ อาจเห็นเป็นนางฟ้าก็ได้เหมือนกัน การที่ปล่อยให้แต่ละคนได้จินตนาการเป็นลวดลายที่ต่างกันนี่แหละคือจุดน่าสนใจอย่างหนึ่งของซาชิโกะโอริ

การรวมธรรมชาติเข้ากับทรงเรขาคณิตในแบบ Sashiko-ori

Sashiko-ori บนสินค้าของแบรนด์ tenp

นอกจากนี้ลายหนึ่งๆ จะมีขนาดใหญ่ถึง 91×54 เซนติเมตร พอเอาไปทำเป็นกระเป๋าผ้าเช็ดหน้า หรือที่รองแก้วก็จะปรากฏลายที่แตกต่างกันตามส่วนที่ตัดออกมาอีกด้วย ได้ลุ้นว่าแต่ละผืนที่ออกมาจะเป็นลายอะไรก็น่าสนุกดี และผู้อยู่เบื้องหลังลวดลายอันแสนซับซ้อนนี้ก็คือช่างทอผ้าผู้เชี่ยวชาญอย่างโอฮาซามะนั่นเอง

 

สั่งซื้อสินค้าคอลเลคชัน Sashiko-ori แบรนด์ tenp

กระเป๋าถือรุ่น Mini Bag (1,000 บาท)

กระเป๋าผ้าฝ้าย 100% ใช้เทคนิคการทอแบบซาชิโกะโอริ ลวดลายเรขาคณิตที่มีกลิ่นอายนิวเรโทร จุดเด่นคือกระเป๋าแต่ละใบตัดจากผ้าผืนใหญ่จึงเกิดเป็นลวดลายที่แตกต่างกันไปเล็กน้อย เหมาะกับใช้เป็นกระเป๋าแบ่งใส่ของเล็กๆ ออกไปข้างนอก

ซื้อสินค้าได้ที่นี่ tenp02/products/mini-bag

ผ้ารองแก้ว (400 บาท)

ผ้ารองแก้วที่ผลิตขึ้นด้วยกรรมวิธีการทอแบบซาชิโกะโอริออกมาในลวดลายเรขาคณิตที่แอบซ่อนความ Abstract ด้วยเพราะสามารถมองเห็นเป็นลวดลายแตกต่างกันแล้วแต่จินตนาการ นี่จึงเป็นผ้ารองแก้วที่สร้างความเพลิดเพลินได้ทั้งตอนเลือกและตอนใช้งาน ดีไซน์ก็เข้ากับถ้วยกาแฟหรือถ้วยชาอีกด้วย

ซื้อสินค้าได้ที่นี่ tenp02/products/tenp02-coa

เข็มกลัด (500 บาท)

เข็มกลัดผ้าขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 5.5 ซม. ทำขึ้นด้วยกรรมวิธีแบบซาชิโกะโอริ สามารถกลัดเพื่อเติมความน่ารักให้กับเสื้อผ้าหรือกระเป๋าสะพายได้ ติดหลายๆ สียิ่งสวยและช่วยเพิ่มความอยากใช้งานมากขึ้น

ซื้อสินค้าได้ที่นี่ tenp02/products/tenp02-bro

ผ้าเช็ดหน้า (800 บาท)

ผ้าเช็ดหน้าที่ใช้การทอแบบดั้งเดิมอย่างประณีต ใช้วิธีการตัดผ้าจากผ้าผืนใหญ่ ทำให้สินค้าทุกชิ้นที่ผลิตออกมามีลวดลายที่ไม่ซ้ำกัน นี่แหละคือจุดเด่นของผ้าซาชิโกะโอริที่ไม่เหมือนใคร ไม่ใช่แค่ใช้เป็นผ้าเช็ดหน้า ยังสามารถใช้ตกแต่งบ้านหรือใช้เป็นที่รองจานได้อีกด้วย

ซื้อสินค้าได้ที่นี่ tenp02/products/tenp02-han

กระเป๋าใส่เหรียญปิ๊กแป๊ก (1,200 บาท)

กระเป๋าที่ใช้งานได้อเนกประสงค์ไม่ว่าจะใช้ใส่เศษเหรียญ หรือบัตรต่างๆ และมีดีเทลพิเศษที่ปากกระเป๋าเป็นแบบปิ๊กแป๊กโบราณ สามารถอ้าปากกระเป๋าได้กว้างทำให้มองหาของที่ใส่ไว้ได้ง่าย จะหยิบของออกก็สะดวก

ซื้อสินค้าได้ที่นี่ tenp02/products/gamaguchi-sei

กระเป๋าปิ๊กแป๊กทรงยาว (1,200 บาท)

กระเป๋าที่มีปากแบบปิ๊กแป๊ก ลักษณะทรงกระเป๋าเป็นแบบบางยาว จึงเหมาะแก่การใช้เป็นซองใส่แว่นหรือจะใช้แทนกล่องดินสอก็เก๋มาก

ซื้อสินค้าได้ที่ tenp02/products/gamaguchi-cho

กระเป๋าใส่เครื่องเขียน (1,200 บาท)

กระเป๋าใส่ดินสอปากกาที่สามารถเก็บของได้มากกว่าที่ตาเห็น เนื่องจากมีการเย็บก้นกระเป๋าเป็นทรงสวยและแข็งแรง ตัวกระเป๋ามีเนื้อสัมผัสการทอที่โดดเด่นของซาชิโกะโอริ ส่วนซิปทำจากทองเหลืองชวนรู้สึกสบายใจทุกครั้งที่ใช้งาน

ซื้อสินค้าได้ที่นี่ tenp02/products/tenp02-pen

กระเป๋าใส่ของกระจุกกระจิก (ราคา 1,400 บาท)

กระเป๋าใส่ของกระจุกกระจิกขนาดกำลังดีเหมาะแก่การใช้งานอเนกประสงค์ ไม่ว่าจะใส่เครื่องสำอาง ของจิปาถะที่พกไปไหนมาไหนด้วยในแต่ละวัน จุดน่ารักๆ ก็คือส่วนแท็กที่มีการปั๊มโลโก้แบรนด์

ซื้อสินค้าได้ที่นี่ tenp02/products/tenp02-pou

ผู้ที่สนใจสามารถหาซื้อผลิตภัณฑ์ซาชิโกะโอริจากแบรนด์ tenp ได้ที่ www.focomo.myshopify.com

 

ที่มา: tenp10.com

LIKE & SHARE

ชอบเรื่องนี้จนต้องบอกต่อ