ภาพ : bit.ly/2tIMNP7

บริเวณตามย่านแหล่งท่องเที่ยวดั้งเดิมอย่างย่านอาซากุสะ (Asakusa) หรืออาราชิยาม่า (Arashiyama) สิ่งหนึ่งที่เป็นของคู่กันและเสริมให้สถานที่มีมนต์ขลังไม่น้อยก็คือ “รถลาก” ภาษาญี่ปุ่นคือ 人力車 (Jin-riki-sha) หรือ Rickshaw ที่จะต่อคิวจอดประจำจุดบริเวณหนึ่งคอยมอบประสบการณ์ (แสนแพง) แก่นักท่องเที่ยวไปมา แยกคำให้เห็นภาพกันชัดๆ

人 = คน

力 = แรง, พลัง

車 = รถ

ถ้าตรงตัวก็ = รถที่ใช้แรงคน (ลาก)

รถลากเหล่านี้มีประวัติความเป็นมายาวนานกว่า 100 ปีแล้ว! ถูกคิดค้นขึ้นในญี่ปุ่นเมื่อปี ค.ศ. 1869 รถลากเป็นการใช้แรงงานคนซึ่งถือว่าถูกกว่าใช้ม้าลากที่มักใช้กันในการทหาร หากพูดให้ถูก เป็นการใช้แรงงานชายมากกว่า ชาวนาจากชนบทยุคนั้นส่วนใหญ่เข้ามาเริ่มต้นชีวิตในเมืองด้วยการเป็นคนลาก เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการหาเลี้ยงชีพ ด้วยเหตุผลนี้ แค่ภายในปี ค.ศ. 1872 รถลากจึงได้รับความนิยมมาก มีมากกว่า 40,000 คันให้บริการ และเป็นหนึ่งในทางเลือกของการเดินทางจริงๆ (ที่ไม่ใช่แค่นั่งเล่นๆ เพื่อการท่องเที่ยว) ของญี่ปุ่นยุคนั้น

ประวัติเป็นมายาวนาน​ – ภาพ : bit.ly/2ucSNTB

แถมยังมีการ “ส่งออก” ไปยังหลายๆ ประเทศในเอเชียด้วย อย่างเช่น สิงคโปร์ จีน อินเดีย เกาหลี รวมถึงประเทศในแถบตะวันออกเฉียงใต้ และภายหลังรถลากที่ใช้แรงคนล้วนๆ ก็เป็นต้นแบบให้กับบางประเทศใช้อัพเกรดจนกลายเป็น  ‘สามล้อถีบ’ ใช้แรงน้อยลงแต่ประสิทธิภาพมากขึ้น

ภายหลังที่ญี่ปุ่นเข้าสู่ยุคเครื่องกลเครื่องจักร ใช่แล้วครับ ได้มีการพัฒนาคมนาคมด้านอื่นแทนอย่างรถไฟและรถยนต์ ที่มีการทุ่มงบประมาณสร้างสาธารณูปโภค รถลากที่กลายเป็นของโบราณจึงได้อันตรธานหายไปจากการเดินทางจริงๆ ในชีวิตประจำวันของผู้คน เหลือให้เห็นในปัจจุบันแค่ตามย่านแหล่งท่องเที่ยวดั้งเดิมที่สำคัญๆ เท่านั้น นี่คือธรรมชาติของ Creative Destruction เมื่อมีของใหม่ที่ดีกว่า เทคโนโลยีใหม่ที่เหนือกว่าทุกด้าน ของดั้งเดิมที่สู้ไม่ได้ก็ต้องบอกลาไป > <

อีกมุมมองประสบการณ์หนึ่งที่คุ้มค่า​ – ภาพ : bit.ly/2tIMNP7

หากคุณสังเกตดีๆ จะพบความละม้ายคล้ายกันระหว่าง สามล้อถีบ และ สามล้อเครื่อง (ตุ๊กตุ๊ก นั่นเอง) ซึ่งนั่นไม่ใช่เรื่องแปลกเลย เพราะเป็นการนำเครื่องยนต์มาใส่ในสามล้อ และจะว่าไปประวัติดั้งเดิมของ ‘ตุ๊กตุ๊ก’ บ้านเรา มีการนำเข้ามาจากญี่ปุ่นเมื่อปี ค.ศ. 1960 โดย ณ ตอนนั้นเป็นรถบรรทุกสามล้อก่อนที่จะมีการนำเข้ารุ่นใหม่ๆ เข้ามาเพิ่มเติมและมีการดัดแปลงจนกลายเป็นตุ๊กตุ๊กที่เราคุ้นเคยกันในปัจจุบัน (อ้อ ไม่ใช่ไทยประเทศเดียวนะที่มีสามล้อเครื่อง ที่อื่นก็มีเหมือนกัน เช่น อินโดนีเซีย อินเดีย ฟิลิปปินส์)

แล่นผ่านอย่างเนิบช้า – ภาพ : bit.ly/2tJ0Rbr

อาจพูดได้ว่า รถลากที่ใช้คนลาก เป็นบรรพบุรุษของทั้งสามล้อถีบและสามล้อเครื่องก็ได้ ถึงแม้จะกลายเป็นความทรงจำเมื่อวันวานในอดีตที่ใช้ในการเดินทาง แต่ญี่ปุ่นยังเห็นคุณค่าและมนต์เสน่ห์บางอย่างในตัวมัน จึงได้รักษาไว้และเปลี่ยนเป็นแม่เหล็กหนึ่งของการท่องเที่ยว ที่น่าอภิรมย์ไม่น้อยหากคุณได้นั่งบนรถลากและเชยชมเหล่าซากุระระหว่างทางไปอย่างเนิบช้า~

…งดงาม… – ภาพ : bit.ly/2tsn7Lh

ที่สำคัญคือสร้างให้เป็น “ระบบ” มีกำหนดราคาที่ชัดเจนไม่ต้องต่อรองราคากันเอง (ตัดปัญหาโกงเงินนักท่องเที่ยว) จัดจุดจอดเฉพาะและวางเส้นทางการลาก คนลากทุกคนจะถูก Training มาอย่างดี รู้กฎปฎิบัติเวลาลากจริงบนท้องถนน (ร่วมกับรถราอื่นๆ)

เพื่อความปลอดภัยของผู้โดยสาร ผู้ลากจะต้องดูแลสุขภาพร่างกายของตนเองให้แข็งแรงเสมอ รวมถึงดีไซน์การออกแบบ Uniform ของคนลากและของตัวรถด เหล่านี้ผมว่านี่เป็นสิ่งที่เพิ่ม Value ได้มากจริงๆ ครับ ^^

จัดจุดจอดเฉพาะไว้ให้เป็นความอภิรมย์อย่างหนึ่งที่ได้นั่งเชยชมเมืองโอะตะรุ (Otaru)

LIKE & SHARE

ชอบเรื่องนี้จนต้องบอกต่อ