HANKYU RAILWAY

 

รถไฟฮันคิว (Hankyu Railway)
ที่มา https://goo.gl/6vm3EF

 

เคยได้ยินชื่อ ฮันคิว (Hankyu) กันไหม?

ถ้าเป็นคนที่เคยไปโซนโอซาก้ามาก่อนคงเห็นตามป้ายผ่านตามาบ้างไม่มากก็น้อย เพราะฮันคิว (Hankyu) เป็นทั้งชื่อของบริษัทรถไฟเอกชนและห้างสรรพสินค้าเก่าแก่ของโอซาก้า ซึ่งอยู่ในเครือเดียวกัน รถไฟฮันคิวเป็นรถไฟระบบไฟฟ้าที่ดำเนินการโดยบริษัทฮันคิว (Hankyu Corporation) นั่นเอง มีสถานีอุเมดะ (Umeda Station) เป็นจุดศูนย์กลาง มีสายรถไฟเชื่อมต่อไปยังจังหวัดเฮียวโงะและเกียวโต ลักษณะเด่นของเส้นทางรถไฟสายฮันคิวก็คือทอดยาวผ่านย่านตัวเมืองที่มีความเจริญ มุ่งตรงไปยังสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติบริเวณชานเมืองได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว ชื่อของสถานีจะใช้รหัสว่า HK

 

ห้างสรรพสินค้าฮันคิว ในย่านอุเมดะ จังหวัดโอซาก้า
ห้างสรรพสินค้าฮันคิว ในย่านอุเมดะ จังหวัดโอซาก้า ที่มา https://goo.gl/QNf55Q

 

คำว่า ฮันคิว หมายถึงอะไร?

คำว่า “ฮันคิว” ถ้าแปลตามความหมายของอักษรคันจิ 阪急 เรียงตัว 阪=โอซาก้า 急=(รถไฟ)ด่วน รวมกันก็หมายถึง “รถไฟด่วนของโอซาก้า” นั่นเอง ที่มาของชื่อมาจากจุดเริ่มต้นของการสร้างรถไฟและเกิดขึ้นที่จังหวัดโอซาก้านั่นเอง ในปัจจุบันสำนักงานใหญ่ของบริษัทก็ตั้งอยู่ในตัวเมืองของโอซาก้าด้วย

 

ห้างสรรพสินค้าฮันคิว ในย่านอุเมดะ จังหวัดโอซาก้า
โมเดลย่อส่วนรถไฟฮันคิว ที่มา: https://goo.gl/R1E14q

 

กำเนิดรถไฟฮันคิว (Hankyu Railway)

รถไฟฮันคิว (Hankyu Railway) ถือกำเนิดขึ้นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1907 โดยอิจิโซ โคบายาชิ (Ichizo Kobayashi) ผู้ที่สรรสร้างระบบขนส่งมวลชนให้เชื่อมต่อระหว่างที่อยู่อาศัย ธรรมชาติ ห้างสรรพสินค้าชั้นนำ ไปจนถึงโรงละครทาคาระซึกะที่โด่งดังไปทั่วญี่ปุ่น เขาเกิดความสงสัยขึ้นมาหลังจากทดลองเดินจากอุเมดะไปที่อิเคดะว่า “ที่ดีๆ แบบนี้ ทำไมคนโอซาก้าถึงไม่อยากมาอยู่กันนะ” ก็เลยเกิดไอเดียขึ้นมาว่า “งั้นเราก็สร้างที่อยู่อาศัยขึ้นมาใหม่บริเวณชานเมือง แล้วพาผู้อยู่อาศัยจากในตัวเมืองขึ้นรถไฟมาที่นี่สิ”

2 ปีต่อมาในวันที่ 10 มีนาคม ค.ศ. 1910 จึงเปิดให้บริการรถไฟระหว่างอุเมดะ-ทาคาระซึกะ กับ อิชิบะชิ-มิโน เป็นสองสายแรก จากนั้นจึงเริ่มขยายเส้นทางไปโกเบ เกียวโต ในขณะเดียวกันอิจิโซก็ได้สร้างบ้านเช่าที่อยู่ริมเส้นทางรถไฟ พัฒนาเมืองทาคาระซึกะจนกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยว ในปัจจุบันแม้อิจิโซจะลาจากโลกใบนี้ไปแล้ว แต่ทั้งรถไฟฮันคิวและสิ่งที่เขาได้สร้างขึ้นยังคงเป็นประโยชน์ต่อชาวคันไซและนักท่องเที่ยวสืบต่อไป

 

อิจิโซ โคบายาชิ (Ichizo Kobayashi) ผู้ให้กำเนิดรถไฟฮันชิน
อิจิโซ โคบายาชิ (Ichizo Kobayashi) ผู้ให้กำเนิดรถไฟฮันชิน ที่มา: https://goo.gl/mkEp4V

 

นั่งรถไฟฮันคิว (Hankyu Railway) ไปที่ไหนได้บ้าง?

รถไฟคันฮิวแบ่งสายออกกว้างๆ เป็น 3 สี ได้แก่
สายสีฟ้า-โกเบ:Kobe Line (มาจากสีของน้ำทะเลริมท่าเรือโกเบ)
สายสีส้ม-ทาคาระซึกะ:Takarazuka Line (มาจากใบไม้เปลี่ยนสีในมิโน)
สายสีเขียว-เกียวโต:Kyoto Line (มาจากสีของแมกไม้ในเกียวโต) เชื่อมระหว่างจังหวัดเฮียวโงะ โอซาก้าและเกียวโต

สรุปก็คือ รถไฟฮันคิวสามารถนั่งจากอุเมดะ (Umeda) ไปจังหวัดโอซาก้าส่วนเหนือ เช่น มิโน (Minoh) ยาวขึ้นไปจนถึงเมืองทาคาระซึกะ (Takarazuka) ในจังหวัดเฮียวโงะ ทางทิศตะวันตกมีเส้นทางไปเมืองอิตะมิ (Itami) ยาวไปจนถึงย่านซันโนะมิยะในเมืองโกเบได้ ทางทิศตะวันออกมีเส้นทางเข้าจังหวัดเกียวโต สุดสายที่คาวาระมาจิ (Kawaramachi) ย่านช็อปปิ้งใจกลางเมือง และยังมีเส้นทางไปแหล่งธรรมชาติอาราชิยามะ (Arashiyama) อีกด้วย

 

แผนที่เส้นทางทั้งหมดของรถไฟฮันคิว (Hankyu Railway)

 

แผนที่เส้นทางทั้งหมดของรถไฟฮันคิว (Hankyu Railway)
ที่มา https://goo.gl/wzZPS1

 

รถไฟฮันคิวต่างจาก JR ยังไง?

รถไฟฮันคิวถือกำเนิดภายใต้แนวคิด “เชื่อมต่อเมืองกับธรรมชาติ” เสน่ห์ที่โดดเด่นที่สุดก็คงหนีไม่พ้นการเดินทางโดยรถไฟจากตัวเมืองสู่สถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติได้อย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะภูมิภาคคันไซที่เป็นศูนย์รวมธรรมชาติที่สวยงามเป็นอย่างมาก มีสถานีที่อยู่ใกล้กับจุดท่องเที่ยวทางธรรมชาติมากๆ อย่างสถานีอาราชิยามะ (Arashiyama Station) สถานีมิโน (Minoh Station) ฯลฯ สีของตัวรถก็จะเป็นสีเลือดหมูต่างจากขบวนรถไฟบริษัทอื่น ค่าโดยสารเริ่มต้น 150 เยน ซึ่งจะแพงกว่า JR ในคันไซที่เริ่มต้น 140 เยน

นอกจากนี้รถไฟฮันคิวยังเป็นรถไฟระบบใช้ไฟฟ้าในการขับเคลื่อนทั้งหมด ในขณะที่ JR บางพื้นที่ไม่ได้ใช้ระบบไฟฟ้า ภายในขบวนรถของฮันคิวจะดูเรียบๆ ขรึม ผนังใช้สีโทนไม้ เบาะที่นั่งสีเขียวแก่ ให้ความรู้สึกย้อนยุคเบาๆ ในขณะที่ด้านในของรถ JR แม้จะมีหลากหลายรูปแบบ แต่ส่วนใหญ่จะให้บรรยากาศที่โมเดิร์นมากกว่าและใช้โทนสีสว่างมากกว่า นอกจากนี้ยังมีความแหวกแนวของรถไฟฮันคิวที่ไม่เหมือนบริษัทรถไฟอื่นก็คือเวลามีเสียงประกาศเลขชานชาลาจะพูดว่า “….โกเซ็น” แทนที่จะเป็น “….บังเซ็น” ยกเว้นสถานีโกเบซันโนะมิยะ (Kobe Sannomiya Station) ซึ่งก็ยังคงเป็นปริศนาว่าทำไมถึงพูดไม่เหมือนสถานีอื่นๆ

 

บริเวณทางเข้าสถานีฮันคิวอุเมดะ (Hankyu Umeda Station)
บริเวณทางเข้าสถานีฮันคิวอุเมดะ (Hankyu Umeda Station) ที่มา: https://goo.gl/3WhhKC

 

เสน่ห์ของรถไฟฮันคิว

เอกลักษณ์ของรถไฟฮันคิวที่คนญี่ปุ่นรู้สึกก็คือดูขรึมและเรียบๆ ขัดกับบรรยากาศของโอซาก้าที่มีความสนุกสนาน เสียงดัง แล้วก็เคยมีวลีเด็ดในโฆษณาว่า “Hankyu Very Much” (ล้อกับประโยค Thank you very much) หรือเวลาที่มีเสียงประกาศสถานีที่กำลังจะถึงก็จะเป็นเสียงพูดสดๆ ของเจ้าหน้าที่ผู้หญิง ไม่ได้เปิดเสียงที่อัดเอาไว้ แน่นอนว่าเป็นภาษาญี่ปุ่นล้วนๆ และเป็นบริษัทรถไฟที่มีการผลักดันให้ผู้หญิงทำงานด้านรถไฟมากจนเห็นได้ชัด ในบางสถานีก็เปิดโอกาสให้หนุ่มสาวทำงานพิเศษเป็นเจ้าหน้าที่สถานีซึ่งโดยปกติจะไม่ค่อยพบเห็น คนญี่ปุ่นจำนวนหนึ่งก็เลยลงความเห็นกันว่ารถไฟฮันคิวคือรถไฟเอกชนอันดับหนึ่งของญี่ปุ่น ทั้งด้านคุณภาพ บริการ และการให้โอกาสในการสร้างอาชีพ

 

ภายในขบวนรถไฟฮันคิว (Hankyu Railway)
ภายในขบวนรถไฟฮันคิว ที่มา: https://goo.gl/vrU1nY

 

พาสอะไรนั่งฮันคิวได้บ้าง?

พาสที่นักท่องเที่ยวไทยสามารถซื้อเพื่อขึ้นรถไฟของฮันคิวได้มีมากมาย ได้แก่
– Kansai Thru Pass แบบ 2-3 วัน ราคา 4,000/5,200 เยน สามารถนั่งรถไฟได้แทบทุกแบบยกเว้น JR กับชินคันเซ็น
– Hankyu Tourist Pass แบบ 1-2 วัน ราคา 800/1,400 เยน สามารถนั่งรถไฟฮันคิวได้ไม่อั้น
– Osaka Amazing Pass แบบ 1 วัน 2,500/2,900 เยน สามารถนั่งรถไฟฮันคิว รถไฟเอกชนอื่นๆ รถบัสได้ไม่อั้น
– Kansai One Pass บัตรเติมเงินที่พิเศษกว่า IC Card ตรงที่ได้ส่วนลดตามสถานที่ท่องเที่ยวที่ร่วมรายการ

 

หน้าตาของบัตร Hankyu Tourist Pass แบบ 1 วัน
หน้าตาของบัตร Hankyu Tourist Pass แบบ 1 วัน ที่มา https://goo.gl/v4AYvL

 

รีวิวจากคนญี่ปุ่น

@f15yellow13

ฮันคิวในบรรยากาศที่ทำให้นึกถึงอดีต

——————————————-

@hasumi_025

https://twitter.com/hasumi_025/status/1028527770677043200

สถานีรถไฟที่ผมชอบที่สุดในญี่ปุ่น

——————————————-

ข้อมูลเพิ่มเติม: http://www.hankyu.co.jp/global/en/

LIKE & SHARE

ชอบเรื่องนี้จนต้องบอกต่อ