โพรไบโอติกส์ จุลินทรีย์ชนิดดี
หลายคนคงเคยได้ยินมาว่า โพรไบโอติกส์ (Probiotics) ซึ่งก็คือ จุลินทรีย์ชนิดดี หรือแบคทีเรียชนิดดีที่มีมากในโยเกิร์ตหรือนมเปรี้ยว จนคนญี่ปุ่นบางกลุ่มมีความคิดที่ว่าต้องกินโยเกิร์ตทุกวันเพื่อเพิ่มจำนวนโพรไบโอติกส์ให้ขับถ่ายสะดวกและห่างไกลโรคเกี่ยวกับทางเดินอาหารอย่าง กรดไหลย้อน ท้องผูก ฯลฯ แต่ที่จริงแล้วมีงานวิจัยจำนวนมากที่ญี่ปุ่นสรุปไว้ว่าสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ “ศาสตร์ในการปลุกพลังของจุลินทรีย์ชนิดดีในลำไส้ให้ตื่นขึ้นนั่นเอง”

โพรไบโอติกส์ จุลินทรีย์ชนิดดี ที่คนญี่ปุ่นรัก

วันนี้คิจิจะมาแนะนำให้ทุกคนรู้จักข้อดีของจุลินทรีย์ดีที่อาศัยอยู่ในลำไส้ของเรา เพราะเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ช่วยให้อวัยวะภายในสำคัญของร่างกายเราแข็งแรงพร้อมทนทานต่อโรคภัยไข้เจ็บ หากเราติดเชื้อร้ายอย่างไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ หรือ COVID-19 แต่ระบบทางเดินอาหารของเราแข็งแรงล่ะก็ โอกาสที่จะเกิดโรคแทรกซ้อนหรืออาการทรุดหนักก็จะลดน้อยลง ฉะนั้นคิดว่าไม่ควรมองข้ามเจ้าโพรไบโอติกส์นี่เลยล่ะ

 

จุลินทรีย์ดีในลำไส้ช่วยป้องกันมะเร็งและทำให้อายุยืน

ระบบทางเดินอาหาร ลำไส้ ลำไส้ใหญ่ ระบบย่อยอาหาร กระเพาะ

มีกรณีศึกษาที่เมืองเคียวตันโกะ (Kyotango) ทางตอนเหนือของจังหวัดเกียวโต ซึ่งคนญี่ปุ่นจะทราบกันดีว่าเป็นโซนที่ผู้คนอายุยืนและสุขภาพแข็งแรงเป็นอย่างมาก อีกทั้งแทบจะไม่มีผู้ป่วยเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารเลยด้วย จนเกิดโปรเจ็คสืบหาสาเหตุว่าทำไมถึงเป็นเช่นนั้น โดยมีทีมแพทย์ลงสนามวิจัยผู้สูงอายุในเคียวตันโกะกันแบบละเอียดยิบ ผลการวิจัยพบว่า “จุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหาร” ส่งผลอย่างมีนัยสำคัญ โดยจุลินทรีย์ชนิดดีจะช่วยยับยั้งการเกิดแผลในกระเพาะอาหารได้เป็นอย่างดี และมีส่วนลดความเสี่ยงที่จะเกิดมะเร็งลำไส้ จนต้องศึกษาต่อว่าเราจะเพิ่มจำนวนจุลินทรีย์ดีในลำไส้นั้นได้อย่างไร

 

โยเกิร์ตเป็นเพียงตัวช่วย

โยเกิร์ต Yoghurt เพิ่มจุลินทรีย์ชนิดดี

คำกล่าวที่ว่าโยเกิร์ตอุดมไปด้วยจุลินทรีย์ที่ดีต่อลำไส้นั้นเป็นเรื่องจริง เมื่อรับประทานโยเกิร์ตแล้วจุลินทรีย์ดีๆ ก็จะเคลื่อนไปอยู่ในระบบทางเดินอาหารของร่างกายเรา แต่ไม่ได้เจริญเติบโต อีกทั้งเมื่อกินไม่ต่อเนื่อง จุลินทรีย์เหล่านั้นจะค่อยๆ หายไป จึงอาจกล่าวได้ว่าเป็นแค่จุลินทรีย์ที่ผ่านมาแล้วก็ผ่านไป แตกต่างกับจุลินทรีย์ประจำถิ่น (Normal Flora) ที่จะเกาะติดกับเซลล์ในร่างกายได้เป็นระยะเวลานาน อย่างไรก็ตามการกินโยเกิร์ตก็ยังถือเป็นสิ่งที่ดีต่อร่างกาย

 

เส้นใยอาหารที่ละลายได้ในน้ำคือตัวเพิ่มจำนวนจุลินทรีย์ชนิดดี

Hijiki สาหร่ายฮิจิขิ เป็นอีกหนึ่ง โพรไบโอติกส์ หรือ จุลินทรีย์ชนิดดี ที่ควรค่าแก่การกิน

การเพิ่มจุลินทรีย์ดีที่ถูกต้องคือการเพิ่มจำนวนจุลินทรีย์ประจำถิ่น วิธีการก็คือทำให้ร่างกายได้ดูดซึมเส้นใยอาหารที่ละลายได้ในน้ำ (Soluble Dietary Fiber) เพราะนี่แหละคืออาหารชั้นดีสำหรับจุลินทรีย์ชนิดดี อ้างอิงได้จากอาหารที่รับประทานในชีวิตประจำวันของชาวเมืองเคียวตันโกะ เช่น สาหร่ายฮิจิขิ (Hijiki) สาหร่ายวากาเมะ (Wakame) ถั่วหมัก (Natto) ฯลฯ ซึ่งกินทั้งแบบอบแห้งและแบบสด

 

ผู้คนในปัจจุบันกินอาหารที่มีเส้นใยที่ละลายได้ในน้ำน้อยเกินไป

กินอาหาร พฤติกรรมการกิน อาหารเช้า อาหารกลางวัน อาหารเย็น เส้นใยอาหารที่ละลายได้ในน้ำ

นักวิจัยชาวญี่ปุ่นแนะนำให้เราหันมารับประทานอาหารที่มีเส้นใยอาหารที่ละลายได้ในน้ำให้มากขึ้น เพราะเส้นใยดังกล่าวจะเป็นอาหารชั้นดีของ โพรไบโอติกส์ หรือ จุลินทรีย์ชนิดดี ในลำไส้ของพวกเราอย่างน้อยวันละ 1 มื้อ โดยอาหารที่ประหยัดแต่ทำได้ง่ายที่สุดคือ ซุปมิโซะใส่สาหร่ายและวัตถุดิบต่างๆ กับโยเกิร์ตผลไม้ เพียงเท่านี้โพรไบโอติกส์ในร่างกายเราก็จะแข็งแกร่งพร้อมต้านทานทุกโรคภัยแล้ว

 

แป้งทนการย่อย อีกหนึ่งตัวช่วยลดการท้องผูก

แป้งทนการย่อย มัน มันญี่ปุ่น มันหวาน ก็มี โพรไบโอติกส์ หรือ จุลินทรีย์ชนิดดี อยู่ด้วย

แป้งทนการย่อย (Resistant Starch) เป็นสารอาหารชนิดหนึ่งที่ไหลสู่ลำไส้ใหญ่โดยไม่ผ่านการย่อย ได้จากการรับประทานข้าว ถั่ว และมันหลายชนิด จากงานวิจัยต่างๆ พบว่ามีส่วนเสริมสร้างสุขภาพให้แข็งแรงห่างไกลโรคต่างๆ โดยเฉพาะอาการท้องผูก ทางญี่ปุ่นเองก็ได้ทำการทดลองกับผู้สูงอายุที่มีปัญหาเรื่องระบบขับถ่าย พบว่า 8 ใน 12 คน เมื่อรับประทานมันหวาน 100 กรัมทุกวันทำให้ระบบขับถ่ายดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ดังนั้นเราควรหมั่นรับประทานอาหารที่มีโพรไบโอติกส์และแป้งทนการย่อยตั้งแต่ตอนนี้ยังไม่สาย วันใดที่อายุมากขึ้นจะได้มีสุขภาพที่แข็งแรงพร้อมฟันฝ่าทุกอุปสรรคที่เข้ามาโดยไม่ทันตั้งตัว

ที่มา: www9.nhk.or.jp, www9.nhk.or.jp

LIKE & SHARE

ชอบเรื่องนี้จนต้องบอกต่อ