• Bookmark
  • Share

Kitsune No Oudon (คิทสึเนะ โนะ โอะอุด้ง)

  • Bookmark
  • Share
  • Budget
    Budget (ราคาโดยเฉลี่ย/คน)
    ต่ำกว่า 500 บาท
    หมายเหตุ : ราคาอาหารมื้อเย็น ที่ไม่รวมเครื่องดื่ม
  • Imports
    Imports (จำนวนวัตถุดิบนำเข้าจากญี่ปุ่น)
    ปลา = ปานกลาง
    เนื้อวัว = ปานกลาง
    ผัก = ปานกลาง
  • Japanese
    Japanese (ปริมาณลูกค้าชาวญี่ปุ่น)

    มาก
  • Special
    Special
    มีเชฟญี่ปุ่น
    มีสาเกมากกว่า 10 ชนิด
    มีโชจูมากกว่า 10 ชนิด

เรื่องเล่าของสุนัขจิ้งจอกผ่านแผ่นเต้าหูทอดและเส้นอุด้ง

หากคิดถึงความนุ่มหนึบของเส้น อุด้ง อวบอ้วนเคี้ยวแล้วเด้งดึ๋งในปากแล้วล่ะก็ ร้าน Kitsune No Oudon ต้องเป็นอีกหนึ่งร้านที่อยู่ลิสต์ของหลายคนเป็นแน่ ด้วยตัวร้านที่เดินทางง่ายตั้งอยู่ใจกลางย่านสุขุมวิท ให้บรรยากาศสไตล์ญี่ปุ่นดั้งเดิมทั้งด้านหน้าร้านและด้านใน พร้อมเสิร์ฟอุด้งร้อนๆ ชามโตจากสูตรเชฟชาวญี่ปุ่นขนานแท้ให้ละเลียดจนน้ำซุปหยดสุดท้าย

Kitsune No Oudon

ย้อนกลับไปเมื่อปี พ.ศ. 2559 ช่วงเวลาเริ่มต้นที่ความหอมกรุ่นของน้ำซุปดาชิสูตรกลมกล่อมโชยออกมาหน้าร้าน ดึงดูดให้ทั้งคนไทย คนญี่ปุ่น และคนต่างชาติ แวะเวียนเข้ามาลิ้มรสกันไม่ขาดสาย ด้วยสูตรอาหารทุกอย่างที่คิดค้นโดยเชฟ Hiroshi Izaki เชฟชาวญี่ปุ่นขนานแท้ที่เชี่ยวชาญด้านอาหารญี่ปุ่นตัวยง ผู้รักและละเอียดลออในทุกกระบวนการของการทำอาหาร ตั้งใจปรุงทุกขั้นตอนเพื่อให้คนไทยได้ลิ้มลองรสชาติฉบับญี่ปุ่นแท้ๆ เหมาะทุกคนในครอบครัวทุกเพศทุกวัย นี่น่าจะเป็นเหตุผลหลักที่ทำให้หลายคนติดใจในรสชาติอันเป็นเอกลักษณ์นี้ 

Kitsune ในภาษาญี่ปุ่นหากแปลตรงตัวแปลว่า สุนัขจิ้งจอก  ในตำนานเชื่อว่าเชื่อว่าสุนัขจิ้งจอกเป็นผู้รับใช้ของเทพเจ้าอินาริ (เทพแห่งความอุดมสมบูรณ์ เกษตรกรรม และอุตสาหกรรม)  ช่วยจับสัตว์ที่เข้ามาก่อกวนพืชพรรณในไร่นา ผู้คนจึงถวายแผ่นเต้าหู้ทอดในศาลเจ้าอินาริเพื่อแสดงความขอบคุณ เลยเป็นที่มาของการเรียก ซูชิที่ห่อด้วยแผ่นเต้าหู้ทอดหรืออาบูระอาเกะว่า อินาริซูชิ (Inari Sushi) ส่วน อุด้ง ที่ใส่แผ่นเต้าหู้ทอดหรืออาบูระอาเกะก็เรียกว่า คิทสึเนะอุด้ง (Kitsune Udon) นั่นเอง

อุด้ง

หน้าร้านตกแต่งเรียบง่ายในโทนสีน้ำตาลเข้มสุขุม ทั้งชื่อร้านและแท่นเมนูตั้งวางไว้อย่างเป็นระเบียบ หากใครไม่ทันสังเกตอาจจะเดินผ่านไปเฉยๆ ด้วยซ้ำ เท่าที่เราเห็นร้านจะไม่เล่าความอร่อยผ่านรูปหรือข้อความหน้าร้านสักเท่าไรแต่ตั้งใจจะให้อาหารแต่ละเมนูเล่าความอร่อยด้วยตัวของมันเองมากกว่า ความสงบเสงี่ยมแบบนี้นี่แหละคือเสน่ห์ของร้านนี้ที่ดึงดูดเราตั้งแต่แรกเห็น

Kitsune No Oudon

ภายในร้านขนาดกะทัดรัด จัดสรรพื้นที่และแบ่งสัดส่วนได้ดี มีทั้งโต๊ะเดี่ยวและห้องเล็กกึ่งส่วนตัว มีเคาน์เตอร์ด้านหน้าร้านที่เราสามารถมองเห็นเชฟวาดลวดลายทำอาหารได้อย่างถนัดตา และตกแต่งด้วยรูปภาพศาลเจ้าอินาริและหน้ากากสุนัขจิ้งจอกบริเวณผนังร้าน

Kitsune No Oudon

ในส่วนของเมนูอาหารแน่นอนว่าต้องสั่งเมนูชูโรงอย่างอุด้ง เราเริ่มที่ Oban Kitsune Udon อุด้งหน้าเต้าหู้หวานทอดไซส์ใหญ่ เสิร์ฟแผ่นเต้าหู้หวานทอดหรืออาบูระอาเกะ (Abura Age) ชิ้นโตมาในน้ำซุปปลาแห้งที่ปรุงอย่างดีกลมกล่อมโดยวัตถุดิบจากประเทศญี่ปุ่น ด้านล่างคือเส้นอุด้งสีขาวเหนียวนุ่มที่ทางร้านทำเองตั้งแต่ต้นจนจบ ซดน้ำซุปอุ่นๆ ซู้ดเส้นนุ่มๆ เข้ากันที่สุด

อุด้งOban Kitsune Udon (280 บาท)

6 Syunoaji Oinarisan จุดเด่นของอินาริซูชิคือการห่อด้วยแผ่นเต้าหู้หวานและพิเศษกว่าใครตรงที่มีทั้งหมด 6 ไส้ ทั้ง แกงกะหรี่ ไข่นกกระทา ดอกขิง งาดำ มันหวาน และข้าวสมุนไพร ปั้นเป็นก้อนขนาดกำลังดีห่อด้วยแผ่นเต้าหู้และตัดครึ่ง แต่ละคำมีรสชาติเฉพาะตัว ส่วนเรายกใจให้ไส้แกงกะหรี่เป็นที่หนึ่ง

6 Syunoaji Oinarisan (280 บาท)

ถึงแม้ว่าเป็นร้านอุด้งแต่ก็ยังมีเมนูอื่นๆ ให้ได้ลิ้มลองกันด้วย เช่น Tsubugai Escargo หอยมะระหรือหอยสังข์ญี่ปุ่น นำไปอบเนยจนหอมได้ที่ สัมผัสของเนื้อกรุบกรอบพอเหมาะพอดีกับรสกลมกล่อมครบเครื่อง อดใจไม่ได้ที่จะต้องสั่งอีกตัว อีกหนึ่งเมนูกินเล่นที่แนะนำคือ Renkon Satsuma Age รากบัวญี่ปุ่นสอดไส้ปลาหมึกทอดเคี้ยวสู้ฟัน กินคู่กับขิงฝนคือดีที่สุด

อุด้งTsubugai Escargo (300 บาท)
อุด้งRenkon Satsuma Age (160 บาท)

ถ้าใครมีเมนูโปรดเป็นอุด้งแล้วล่ะก็ บอกได้เลยว่าห้ามพลาดร้าน Kitsune No Oudon เลยจริงๆ ทั้งอาหารและบรรยากาศทำให้รู้สึกเหมือนนั่งซู้ดเส้น อุด้ง อยู่ที่ญี่ปุ่นอย่างไรอย่างนั้น หลังจากลิ้มลองทุกเมนูแล้วรู้สึกได้เลยว่าอาหารของที่นี่เล่าความอร่อยผ่านตัวมันเองได้อย่างน่าประทับใจจริงๆ 🙂

Map