คนไทย และชนชาติอื่นทั่วโลก ส่วนใหญ่มักชินกับหนังสือเปิดจากซ้ายไปขวา เย็บสันไว้ด้านซ้าย แต่เอ๊ะ! บางทีหนังสือการ์ตูนทำไมพิมพ์กลับขวาไปซ้ายล่ะ? ญี่ปุ่นเขาเปิดหนังสือจากขวาไปซ้ายกันเหรอ

คำตอบคือ หนังสือญี่ปุ่น มีทั้งเย็บสันด้านซ้าย และขวา

ที่เป็นอย่างนี้เพราะญี่ปุ่นมีวิธีอ่านสองแบบ คือแนวตั้งและแนวนอน

หากเขียนแนวนอน จะอ่านตามที่พวกเราคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี คืออ่านไล่จาก ซ้ายไปขวา บนลงล่าง เช่นตัวอย่างในภาพด้านล่าง มาจากหนังสือเรื่อง “LA BETTOLA Pasta no Kihon”

วิธีอ่านเหมือนภาษาไทยหรืออังกฤษ คือไล่จากบนซ้ายสุด ไปทางขวา เมื่อสุดบรรทัดก็อ่านบรรทัดล่างถัดลงไป กรณีที่ภายในเล่มเขียนแนวนอน จะเย็บสันที่ด้านซ้ายของหนังสือ และเปิดจากขวาไปซ้าย

ส่วนอีกวิธี คือแนวตั้ง ซึ่งในญี่ปุ่นเองได้รับความนิยมกว่ามาก วิธีการอ่านคือ ไล่สายตาอ่านจาก บนลงล่าง ขวาไปซ้าย

เช่นตัวอย่างด้านล่างจากเรื่อง “Mai-Hime”

วิธีอ่านจะเริ่มจากมุมขวาบน ไล่ลงข้างล่าง เมื่อสุดแถวค่อยกลับมาด้านบน อ่านบรรทัดถัดไปทางซ้ายมือ หากภายในเล่มเขียนแนวตั้ง ตัวหนังสือนิยมเย็บสันที่ด้านขวา และเปิดจากซ้ายไปขวา

แต่ยังมีบางกรณี ที่หนังสือเย็บสันฝั่งขวา แต่ภายในเขียนเป็นแนวนอน อาจมีเหตุผลตามแต่ผู้ผลิตเห็นสมควร

ตัวอย่างเช่นนิตยสารท่องเที่ยว “Rurubu Kyoto wo Aruko” ข้างล่างนี้ ภายในมีทั้งเขียนเป็นแนวตั้งและแนวนอน สลับกับภาพ แต่ที่สำนักพิมพ์เลือกเย็บสันที่ขวามือ คงเป็นเพราะเขาจัดอาร์ตในเล่มให้สะดวกต่อการไล่สายตาจากบนลงล่าง แต่ใช้ประโยชน์จากหน้ากระดาษให้มากที่สุดโดยจัดหน้าให้มีตั้งอักษรแนวนอนและแนวตั้ง จนไม่เหลือพื้นที่ว่างเปล่าประโยชน์เลย

 

ซึ่งการเขียนแนวตั้ง-แนวนอน ไม่ใช่แค่นำตัวอักษรมาเรียงสลับกันเท่านั้น แต่มีกฎเกี่ยวกับวิธีเขียนสัญลักษณ์ระบุเอาไว้อย่างชัดเจน ลองสังเกตจากคำด้านล่างนี้ดูได้ค่ะ

 

 

สังเกตเห็นอะไรกันไหมคะ

  • เครื่องหมายคำพูดคล้ายวงเล็บ 「」 หมุนเปลี่ยนทิศ
  • เครื่องหมายจุดจบประโยค เมื่อเขียนแนวตั้ง จะอยู่ทางขวาของตัวอักษร
  • เครื่องหมายลากเสียงยาว ของอักษรคาตาคานะ เปลี่ยนตามทิศทางการเขียน ข้อสังเกตคือ หากเป็น ที่เป็นตัวอักษรคันจิแทนเลข 1 จะเขียนเหมือนเดิมไม่ว่าแนวตั้งหรือแนวนอน เพราะนับเป็นอักษรไม่ใช่สัญลักษณ์
  • หากเป็นภาษาอังกฤษ หรือภาษาอื่นๆ จะเขียนเป็นแนวนอนเหมือนเดิม เมื่อมีภาษาอื่นปนอยู่ในในการเขียนแนวตั้งคนอ่านก็ต้องเขียนคออ่านกันไป
  • อักษรฟุริกานะ ช่วยบอกเสียงอ่าน หากเขียนแนวนอนจะอยู่ด้านบน หากเขียนแนวตั้งจะอยู่ด้านขวา
  • ตัวเลข เมื่อเขียนแนวตั้ง นิยมใช้เป็นตัวเลขอักษรคันจิ

 

เดิมทีวัฒนธรรมการเขียนของญี่ปุ่น เขียนเป็นแนวตั้ง นับแต่เริ่มรับวัฒนธรรมตัวอักษรมาจากจีน

สมัยก่อนคนญี่ปุ่นเขียนลงในม้วนกระดาษ เมื่อเขียนหรืออ่านแล้ว มือข้างหนึ่งคอยม้วนออกมาเพิ่ม ส่วนอีกข้างคอยม้วนเก็บ ทำให้ไม่ต้องเปลืองพื้นที่

ขอบคุณภาพจาก : http://www.minori-kyoto.com/

แต่เมื่อมีการรับวัฒนธรรมตะวันตกเข้ามา การเขียนแนวนอนแบบตะวันตกจึงเข้ามาด้วย

ผลก็คือ ญี่ปุ่นในปัจจุบันใช้ทั้งสองระบบควบคู่กันไป และทำให้เกิดดีไซน์ใหม่ๆ แปลกตา ซึ่งภาษาอื่นเลียนแบบได้ยาก เพราะประกอบด้วยอักษรแนวตั้งและแนวนอนสลับกัน

ขอบคุณภาพจาก : https://www.amazon.co.jp/

ในไทยเองหลังๆ กระแสญี่ปุ่นมาแรง ก็เริ่มมีการนำอักษรญี่ปุ่นมาใช้ในการออกแบบให้เห็นกันอยู่เป็นระยะ ตัวอย่างเช่น หนังสือด้านล่างนี้ หนังสือแปลจากภาษาญี่ปุ่น ก็คงภาษาต้นฉบับไว้บนปกซะเลย! ได้เป็นดีไซน์แปลกตาไปอีกแบบ

ขอบคุณภาพจาก : http://www.matichon.co.th

หรือโฆษณาสินค้าบางอย่าง ก็ใช้ภาษาญี่ปุ่นประกอบภาพด้วย

ขอบคุณภาพจาก : https://www.facebook.com/pg/BarBQPlazaThailand/

แต่เอ๊ะ!? มองเห็นอะไรผิดปกติในภาพนี้กันบ้างไหมคะ

ลองไล่สายตามองอีกครั้งหนึ่ง ก่อนไปอ่านเฉลยด้านล่าง

.
.
.
.
.
ปิ๊งป่อง คำตอบก็คือ ชื่อเมนูซ้ายล่าง

かたロース เมื่อเขียนเป็นแนวตั้ง จะต้องเส้นเป็นแนวตั้งว่า

ความผิดพลาดนี้เกิดจากการนำอักษรมาเรียงใหม่ทีละตัว ไม่ได้ใช้ฟังก์ชันพิมพ์แนวตั้ง สัญลักษณ์เสียงยาวจึงไม่หมุนตามไปด้วยนั่นเอง

LIKE & SHARE

ชอบเรื่องนี้จนต้องบอกต่อ