หากมีโอกาสได้มาเที่ยวที่ประเทศญี่ปุ่น หนึ่งสิ่งที่จะต้องได้เจออย่างแน่นอนนั่นก็คือ “รถไฟ” เพราะถือได้ว่าเป็นระบบขนส่งมวลชนหลักที่ชาวญี่ปุ่นใช้เดินทางในชีวิตประจำวัน และยังรวมไปถึงนักท่องเที่ยวด้วยเช่นกัน สำหรับนักท่องเที่ยวมือใหม่ที่มีความกังวลใจเกี่ยวกับการใช้บริการรถไฟในญี่ปุ่น บอกเลยว่าถ้าได้อ่านบทความนี้ รับรองว่าคุณจะคลายความกังวลลงไปทันที และสำหรับใครที่เคยใช้บริการรถไฟในประเทศญี่ปุ่นแล้ว ก็คงจะได้เกร็ดความรู้เกี่ยวกับรถไฟในญี่ปุ่นมากขึ้นอีกด้วยค่ะ ครั้งนี้ได้รวบรวม 7 สิ่งที่คุณอาจจะยังไม่รู้เกี่ยวกับ ‘รถไฟในประเทศญี่ปุ่น’ มานำเสนอ

เดี๋ยวเราไปดูกันค่ะ ว่ามีอะไรที่น่าสนใจบ้าง …เอ้า เริ่มเลยนะคะ!

 

1. ไม่ตกรถไฟ เมื่อใช้เว็บไซต์ Hyperdia ในการค้นหาเส้นทาง

แผนที่เส้นทางเดินรถไฟในประเทศญี่ปุ่น

นอกจากแผนที่เส้นทางเดินรถ ที่จำเป็นต่อการวางแผนเดินทางท่องเที่ยวแล้ว อีกหนึ่งวิธีที่นิยมใช้ค้นหาเส้นทางรถไฟสุดแสนจะทันสมัย สะดวก และรวดเร็ว ก็คือบริการค้นหาเส้นทางของ Hyperdia (www.hyperdia.com) ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่ใช้งานง่ายมาก เพียงแค่ใส่ข้อมูลดังต่อไปนี้

บริการค้นหาเส้นทางของ รถไฟในประเทศญี่ปุ่น Hyperdia (www.hyperdia.com)

  1. สถานีต้นทาง
  2. สถานีปลายทาง
  3. วันที่เดินทาง
  4. ช่วงเวลาเริ่มเดินทาง

เมื่อใส่ข้อมูลแล้ว ระบบจะคำนวนเส้นทางให้ โดยแสดงสายรถไฟที่ต้องเดินทาง ระยะเวลา เที่ยวรถไฟ ค่าเดินทาง พร้อมแสดงเส้นทางสำรองเผื่อไว้เป็นตัวเลือกให้อีกด้วย ที่สำคัญเว็บไซต์นี้มีระบบภาษาอังกฤษ จึงสะดวกและเข้าใจง่ายสำหรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ เพียงเท่านี้ก็ไม่พลาดทริปท่องเที่ยวด้วยรถไฟที่เคยยุ่งยากซับซ้อนอีกต่อไป …วางแผนดีมีชัยไปกว่าครึ่งค่ะ

 

2. ซื้อตั๋วผิดไม่ต้องตกใจ ขอเงินคืนได้ที่ตู้เครื่องเดิม

ตั๋วรถไฟในประเทศญี่ปุ่น

แน่นอนว่าทุกคนจะต้องซื้อตั๋วที่ตู้อัตโนมัติก่อนเดินทาง ซึ่งตั๋วก็มีหลากหลายแบบหลายราคาให้เลือก สำหรับรถไฟ JR หากเป็นตั๋วแบบเที่ยวเดียว ถ้าบังเอิญซื้อผิดก็ไม่ต้องกังวลใจค่ะ เพราะเราขอเงินคืนได้จากตู้ที่เราซื้อมานั่นแหละ ด้วยวิธีการที่ง่ายและสะดวกสุดๆ ไปดูวิธีการคืนตั๋วกันเลยนะคะ

 

A. เปลี่ยนภาษา จากภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาอังกฤษ อยู่ที่มุมบนด้านขวาของจอ

วิธีการคืนตั๋วรถไฟ (กรณีซื้อผิด) ขั้นตอนที่ 1 เปลี่ยนภาษา จากภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาอังกฤษ อยู่ที่มุมบนด้านขวาของจอวิธีการคืนตั๋วรถไฟ (กรณีซื้อผิด) ขั้นตอนที่ 2 หน้าจอแสดงเป็นเมนูภาษาอังกฤษ

 

B. เลือก Refund ที่มุมล่างด้านซ้าย

วิธีการคืนตั๋วรถไฟ (กรณีซื้อผิด) ขั้นตอนที่ 3 เลือก Refund ที่มุมล่างด้านซ้ายวิธีการคืนตั๋วรถไฟ (กรณีซื้อผิด) ขั้นตอนที่ 4 หน้าจอแสดงวิธีการขอคืนเงิน

 

C. ไฟบริเวณช่องใส่ตั๋วด้านล่างซ้ายจะกะพริบ ให้นำตั๋วที่ซื้อมาผิดใส่เข้าไปในช่องนั้น

วิธีการคืนตั๋วรถไฟ (กรณีซื้อผิด) ขั้นตอนที่ 5 ไฟบริเวณช่องใส่ตั๋วด้านล่างซ้ายจะกะพริบ ให้นำตั๋วที่ซื้อมาผิดใส่เข้าไปในช่องนั้น

 

D. หน้าจอจะแสดงค่าเงินที่ต้องคืนให้

วิธีการคืนตั๋วรถไฟ (กรณีซื้อผิด) ขั้นตอนที่ 6 หน้าจอจะแสดงค่าเงินที่ต้องคืนให้

 

E. รับเงินคืนที่ช่องรับเงิน

วิธีการคืนตั๋วรถไฟ (กรณีซื้อผิด) ขั้นตอนที่ 7 รับเงินคืนที่ช่องรับเงิน

 

เห็นไหมคะว่า วิธีการคืนตั๋วรถไฟไม่ได้ยากอย่างที่คิดเลย แต่ถ้าเป็นตั๋วรถไฟประเภทอื่นๆ หากมีความประสงค์ที่จะคืนตั๋ว ก็ต้องติดต่อกับเจ้าหน้าที่รถไฟในห้องขายตั๋วหรือแจ้งเจ้าหน้าที่ที่อยู่ในบริเวณนั้นให้ทราบ เพื่อให้เขาช่วยดำเนินการ

 

3. JR YAMANOTE กับรถไฟใต้ดิน METRO ในโตเกียว มีป้ายอัจฉริยะช่วยวางแผนก่อนเดินทาง

สำหรับนักท่องเที่ยวหรือผู้ใช้บริการทั่วไปทุกช่วงวัยอายุ ถ้าเข้าใจและรู้วิธีการใช้ป้ายอัจฉริยะนี้ จะช่วยให้การเดินทางสะดวกขึ้นมากเลยค่ะ เพราะป้ายที่ว่านี้มีข้อมูลเกี่ยวกับทางออก บันไดเลื่อน ลิฟต์ ห้องน้ำ และจุดเชื่อมต่อกับรถไฟสายอื่นๆ ในแต่ละสถานีอย่างครบถ้วน สะดวกเหมือนมีคนคิดให้ ไปถึงจุดหมายได้อย่างรวดเร็ว เหลือเพียงแค่เราต้องระวังขึ้นลงรถไฟผิดขบวนเท่านั้นเอง มีวิธีที่สังเกตสัญลักษณ์อย่างง่าย คือ

– JR Yamanote ป้ายส่วนใหญ่จะตั้งอยู่บริเวณชานชาลา ช่องสีชมพูหมายถึง บันไดเลื่อน ช่องสีฟ้าหมายถึง ลิฟต์

JR Yamanote ป้ายส่วนใหญ่จะตั้งอยู่บริเวณชานชาลาที่ป้าย JR Yamanote ช่องสีชมพูหมายถึง บันไดเลื่อน ช่องสีฟ้าหมายถึง ลิฟต์

วิธีการเดินทาง: หากเริ่มเดินทางจากสถานีอิเกะบุกุโระ (Ikebukuro Station) โดยรถไฟสาย JR Yamanote เพื่อไปต่อรถไฟสาย Keio ที่สถานีชินจุกุ (Shinjuku Station) ต้องขึ้นที่ตู้หมายเลข 8 (หมายเลขตู้อยู่ที่ประตูทางกั้นเปิดปิดก่อนขึ้นรถไฟ) เมื่อลงรถไฟแล้วจะเจอบันไดเลื่อนและทางออกเพื่อไปต่อรถไฟสาย Keio ทันที

– รถไฟใต้ดิน Metro ช่องสีชมพู หมายถึง บันไดเลื่อน ลิฟต์ ห้องน้ำ และทางออก ซึ่งป้ายอัจฉริยะจะติดอยู่ที่บริเวณเสาในชานชาลาถ้าเดินลงบันไดเข้าสู่ชานชาลาก็จะเห็นป้ายอัจฉริยะได้ทันที   

รถไฟใต้ดิน Metro ป้ายอัจฉริยะจะติดอยู่ที่บริเวณเสาในชานชาลาถ้าเดินลงบันไดเข้าสู่ชานชาลาก็จะเห็นป้ายอัจฉริยะได้ทันทีป้ายรถไฟใต้ดิน Metro ช่องสีชมพู หมายถึง บันไดเลื่อน ลิฟต์ ห้องน้ำ และทางออก

วิธีการเดินทาง: เมื่อขึ้นรถไฟสาย Tozai line ที่สถานีทะกะดะโนะบะบะ (Takadanobaba Station) เพื่อไปสถานีคะงุระสะกะ (Kagurazaka Station) แล้วออกทางออก 1 จะต้องขึ้นที่ตู้หมายเลข 1 พอลงรถไฟแล้วจะเจอบันไดเลื่อนและทางออกทันทีค่ะ

 

4. รู้หรือไม่ว่าแต่ละสถานีรถไฟมีเพลงประจำสถานีด้วย

เสียงเพลงที่มักจะเปิดในเวลาที่รถไฟเทียบชานชาลาและประตูกำลังจะเปิดออกนั้น ถ้าไม่ได้สังเกตกันจริงๆ ก็คงคิดว่าเป็นแค่เสียงเมโลดี้ธรรมดาๆ เท่านั้น ซึ่งเพลงที่เปิดในแต่ละสถานีมี 2 แบบ นั่นก็คือเพลงธีม (Theme song) ที่ใช้เหมือนกันทุกสถานี และเพลงที่เปิดเฉพาะสถานีนั้นๆเพียงที่เดียว อย่างเช่น

 

สถานีเอะบิซุ (Ebisu Station) ของรถไฟสาย JR Yamanote (TOKYO)

สถานีเอะบิซุ (Ebisu Station) ของรถไฟสาย JR Yamanote (TOKYO)สถานีเอะบิซุ (Ebisu Station) ของรถไฟสาย JR Yamanote (TOKYO) เปิดเพลง “The Third Man” ที่ใช้ประกอบโฆษณาของ YEBISU BEER และยังนำมาใช้เป็นเพลงประจำของสถานี

สถานีนี้เปิดเพลง “The Third Man” ที่ใช้ประกอบโฆษณาของ YEBISU BEER และยังนำมาใช้เป็นเพลงประจำของสถานีนี้ เพราะย่านนี้เป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์เบียร์ YEIBISU ซึ่งคนญี่ปุ่นได้ฟังแค่เมโลดี้ก็รู้แล้วว่าได้นั่งรถไฟมาถึงที่สถานีเอะบิซุแล้ว ลองฟังกันได้ที่นี่ค่ะ goo.gl/iSbmY1

 

สถานีทะกะดะโนะบะบะ (Takadanobaba Station) ของรถไฟสาย JR Yamanote (TOKYO)

สถานีทะกะดะโนะบะบะ (Takadanobaba Station) ของรถไฟสาย JR Yamanote (TOKYO)สถานีทะกะดะโนะบะบะ ของรถไฟสาย JR Yamanote (TOKYO) ใช้เพลงการ์ตูนเรื่อง Astro Boy หรือเจ้าหนูปรมาณ/เจ้าหนูอะตอม มาเป็นเพลงประจำสถานี

สถานีนี้ใช้เพลงการ์ตูนเรื่อง Astro Boy หรือเจ้าหนูปรมาณ/เจ้าหนูอะตอม มาเป็นเพลงประจำสถานี เนื่องจากย่านนี้เป็นที่ตั้งของบริษัทที่ผลิตการ์ตูนดังกล่าว ที่วาดโดยโอะซะมุ เทะสุกะ (OSAMU TEZUKA) แรกเริ่มเดิมทีทางสถานีตั้งใจจะใช้เพลงเรื่องเจ้าหนูปรมาณูแค่เดือนเมษายนปี 2003 เท่านั้น แต่แฟนๆ กลับติดใจและเรียกร้องให้ใช้เพลงนี้ไปตลอดค่ะ ไม่เพียงในสถานีรถไฟเท่านั้น ในย่านทะกะดะโนะบะบะ ก็ยังมีการตกแต่งถนนหนทาง  รวมถึงวาดภาพบนกำแพงเป็นสตอรี่โดยใช้คาแร็กเตอร์การ์ตูนเรื่องนี้ด้วยเช่นกัน เรียกได้ว่าเป็นสัญลักษณ์ของย่านนี้เลยทีเดียว ลองฟังเพลงกันได้ที่นี่ค่ะ www.youtube.com/watch?v=cYnUNqF8cD4

 

5. Woman Only ตู้รถไฟนี้ผู้หญิงขึ้นได้เท่านั้น

ป้ายสีชมพูหมายถึง Woman Only ตู้รถไฟนี้ผู้หญิงขึ้นได้เท่านั้นป้าย Woman Only ตู้รถไฟนี้ผู้หญิงขึ้นได้เท่านั้น

 

เป็นที่รู้กันดีว่าในช่วงเวลาเร่งด่วน หลายคนต่างเลือกใช้ระบบขนส่งเดียวกันนั่นคือ “รถไฟ” แทบทุกสถานีในประเทศญี่ปุ่นนั้น ย่อมแน่นขนัดไปด้วยผู้คน โดยเฉพาะพนักงานออฟฟิศ เพื่อให้ไปทำงานได้ทันเวลา แน่นอนค่ะ สำหรับพนักงานออฟฟิศในปัจจุบันไม่ได้มีแค่หนุ่มๆเท่านั้น ยังมีสาวๆอีกด้วย รวมไปถึงนักเรียน นักศึกษา ที่จะต้องเดินทางไปโรงเรียนด้วยตนเอง ก็มีมากด้วยเช่นกัน เพื่อความปลอดภัยของสาวๆ และป้องกันการถูกลวนลามบนรถไฟ จึงได้มีตู้โดยสารที่ให้บริการสำหรับผู้หญิงเท่านั้น ซึ่งจะอยู่บริเวณตู้แรกหรือตู้สุดท้าย บางสถานีจะมีเจ้าหน้าที่ถือป้ายสีชมพูคอยบอกทาง และจะให้บริการตั้งแต่ช่วงเวลา 7.00 น. ถึง 9.00 น. เห็นแบบนี้แล้ว สาวๆ ก็สบายใจได้เลย สำหรับนักท่องเที่ยวขอแนะนำว่า ควรหลีกเลี่ยงช่วงเวลาดังกล่าวจะดีที่สุดค่ะ

ช่วงเวลา 7.00-9.00 น. จะมีเจ้าหน้าที่มาถือป้าย Woman Only ตู้รถไฟนี้ผู้หญิงขึ้นได้เท่านั้น
ขอบคุณภาพจาก https://goo.gl/Dakn9d

 

6. สถานีรถไฟที่ญี่ปุ่นมีห้องน้ำให้บริการฟรี!

อีกหนึ่งข้อกังวลใจโดยเฉพาะเวลาเดินทางก็คือ “ห้องน้ำ” กลายเป็นสิ่งจำเป็นไปโดยปริยาย เพราะเราไม่รู้ว่าข้าศึกจะบุกเมื่อไหร่ แต่ถ้าเกิดเหตุจำเป็นต้องใช้ห้องน้ำทันที ขอให้ตรงไปที่สถานีรถไฟ รับรองได้ว่าจะเจอห้องน้ำอย่างแน่นอนค่ะ เพราะทุกสถานีมีห้องน้ำให้บริการแก่ผู้โดยสารแบบฟรีๆ บางครั้งถ้าเป็นรถไฟขบวนที่วิ่งยาวๆ อย่างเช่นสาย Shonan Shinjuku line ก็จะมีห้องน้ำบริการบนรถไฟด้วยเช่นกันค่ะ ห้องน้ำใช้ว่าจะมีแต่ห้องน้ำผู้ชายและห้องน้ำผู้หญิงเท่านั้นนะคะ ยังมีห้องน้ำสำหรับผู้พิการไว้บริการอีกด้วย ขึ้นชื่อว่าเป็นประเทศญี่ปุ่นแล้ว ความใส่ใจต้องมาเป็นอันดับแรกเลยล่ะค่ะ

สถานีรถไฟ Shonan Shinjuku line มีห้องน้ำให้บริการฟรี

อาจจะเคยได้ยินหลายๆ คนกล่าวไว้ว่า ห้องน้ำในญี่ปุ่นนั้นหาง่ายกว่าถังขยะ ดูแล้วคำกล่าวนี้น่าจะเป็นเรื่องจริง เพราะแม้แต่ตามร้านสะดวกซื้อก็ยังมีห้องน้ำให้บริการกันด้วยเช่นกัน ดังนั้น ถ้ามาเที่ยวประเทศญี่ปุ่น อุ่นใจได้ค่ะ ห้องน้ำหาง่าย สะอาด และปลอดภัย ที่สำคัญ มีกระดาษชำระเตรียมไว้ให้ใช้บริการกันแบบฟรีๆ อีกด้วยค่ะ  

 

7. ไฟ Blue Light ป้องกันกระโดดลงรางเพื่อฆ่าตัวตาย แบบนี้ก็มีด้วยหรือ?

ญี่ปุ่นขึ้นชื่อว่าเป็นประเทศที่มีการฆ่าตัวตายสูงเป็นอันดับต้นๆ ของโลก จากสถิติการฆ่าตัวตายในอดีตที่ผ่านมา โดยเฉพาะในปี 2003 สูงถึง 34,437 คน ถือว่าเป็นปีที่มีสถิติคนจบชีวิตสูงมากๆ จากผลการสรุปข้อมูลของรัฐบาลญี่ปุ่น ในปี 2016 ที่ผ่านมา มีจำนวนผู้ที่จบชีวิตด้วยการฆ่าตัวตายลดน้อยลงกว่า 25,000 ราย ซึ่งน้อยเป็นประวัติการณ์ และจากข้อมูลก็ไม่ได้ระบุว่า สาเหตุที่ลดลงนั้นมาจากอะไรหรือด้วยวิธีใด แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นไม่ว่าจะสาเหตุใดก็ตาม ถือว่าเป็นแนวโน้มที่ดีที่ทำให้จำนวนผู้สั้นลดน้อยลง

สถิติการฆ่าตัวตายของคนญี่ปุ่นตั้งแต่ปี 1978 - 2015
ขอบคุณภาพจาก https://goo.gl/htrpqW

หากเคยมาขึ้นรถไฟที่ญี่ปุ่น อาจจะได้เจอกับเหตุการณ์ที่รถไฟมาล่าช้า หนึ่งในสาเหตุนั้นก็คือ อุบัติเหตุจากการที่มีคนกระโดดลงไปยังรางรถไฟเพื่อฆ่าตัวตายค่ะ ถ้าสังเกตกันดีๆ บริเวณต้นหรือท้ายของชานชาลารถไฟ จะมีดวงไฟสีน้ำเงินหรือที่เรียกกันว่า “Blue Light” ติดเอาไว้ คนส่วนใหญ่แม้แต่คนญี่ปุ่นเองก็ไม่ค่อยสังเกตเห็น หรืออาจจะไม่รู้เสียด้วยซ้ำว่าไฟสีน้ำเงินนั้น ในทางจิตวิทยา มีผลทำให้คนไม่อยากฆ่าตัวตาย

ไฟ Blue Light ป้องกันกระโดดลงรางเพื่อฆ่าตัวตายบริเวณต้นหรือท้ายของชานชาลารถไฟ จะมีดวงไฟสีน้ำเงินหรือที่เรียกกันว่า “Blue Light” ติดเอาไว้เพื่อป้องกันการฆ่าตัวตาย

ทาง JR EAST ได้เริ่มทยอยติดตั้งไฟ Blue Light ตั้งแต่ปี 2009 (อ้างอิงจาก https://goo.gl/2Zktyc ) โดยใช้หลักทางจิตวิทยาที่ว่า สีน้ำเงิน (Blue Light) จะช่วยให้คนที่กำลังมีปัญหา มีความเครียด สิ้นหวัง หมดกำลังใจ หรือกำลังเศร้าหมอง และอยากหาทางจบชีวิตด้วยการฆ่าตัวตาย แต่ถ้าได้เห็นดวงไฟสีน้ำเงินจะทำให้รู้สึกผ่อนคลายและไม่อยากคิดสั้นอีก

นอกจากบริเวณชานชาลารถไฟแล้ว ยังสามารถเห็นไฟสีน้ำเงิน (Blue Light) ได้ตามสวนสาธารณะ ห้องน้ำ หรือในจุดเปลี่ยวๆ ที่สามารถจะทำให้เกิดอาชญากรรม หรืออาจจะเกิดโอกาสฆ่าตัวตายสูงได้ค่ะ

ไฟสีน้ำเงิน (Blue Light) ที่ติดตามสวนสาธารณะ ห้องน้ำ หรือในจุดเปลี่ยวๆ

สามารถเห็นไฟสีน้ำเงิน (Blue Light) ได้ตามสวนสาธารณะ ห้องน้ำ หรือในจุดเปลี่ยวๆ ที่สามารถจะทำให้เกิดอาชญากรรม หรืออาจจะเกิดโอกาสฆ่าตัวตายสูง
ภาพถนนเปิดไฟด้วย Blue Light ขอบคุณภาพจาก https://goo.gl/ACyzQx

 อ่านมาถึงตรงนี้หวังว่าเรื่องราวในบทความนี้คงจะทำให้เพื่อนๆ ได้ความรู้กันเพิ่มขึ้นเกี่ยวกับ ‘รถไฟในประเทศญี่ปุ่น’ และหมดความกังวลเกี่ยวกับการใช้รถไฟนะคะ อย่าลืมติดตามเรื่องราวดีๆเกี่ยวกับญี่ปุ่นสนุกๆ กันได้ใหม่ในบทความหน้า …แล้วเจอกันค่ะ

LIKE & SHARE

ชอบเรื่องนี้จนต้องบอกต่อ